เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

สำเร็จแล้ว!! “รถแก๊สไม้ไผ่” คันแรกของเอเชีย ใช้ถ่าน 25 กก. วิ่งได้ 500 กม.

“ไผ่” เป็นไม้ที่ขึ้นง่ายและเติบโตเร็ว ขึ้นได้ดีในทุกสภาวะอากาศ ดำรงอยู่ได้ในพื้นดินทุกชนิด ที่สำคัญคือ

ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่อำนวยประโยชน์หลายประการ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม ไผ่ทุกชนิด สามารถนำ

ไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ทั้งยังเป็นพืชพลังงานสูง และในเชิงเศรษฐกิจเป็นพืชที่ลงทุนในปีแรกเท่านั้น

ดังเช่น ชุมชนผาปัง จ.ลำปางที่ทำได้สำเร็จ ผลิตรถใช้แก๊สจากถ่านไม้ไผ่ได้เป็นคันแรกของเอเชีย โดยท่าน

ผู้ว่าฯทดลองขับคนแรก ซึ่งประหยัดพลังงานสูงสุด บรรจุถ่าน 25 กิโลกรัม วิ่งได้ไกลถึง 500 กิโลเมตร และ

เตรียมเข้าทดสอบมาตรฐานสมรรถภาพเครื่องยนต์กับกรมขนส่งและกรมธุรกิจพลังงาน และจดสิทธิบัตรในนาม

มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง

นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง พร้อมด้วยนายสมชัย กมลเทพเทวินทร์ นายสมชัย

กิจเจริญรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง และหัวหน้าส่วนราชการหลายหน่วยงาน ได้เข้าเยี่ยมชม

การดำเนินงานของมูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง หมู่ 3 ต.ผาปัง อ.แม่พริก จ.ลำปาง ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการปลูก

ต้นไผ่นำมาใช้ประโยชน์ปีละ 1,095 ตัน

โดยการนำมาทำตะเกียบ ถ่านอัดแท่ง เศษไม้ไผ่ใช้ผลิตเป็นปุ๋ยดินขุยไผ่ ธูปหอมไล่ยุง ใช้เป็นเชื้อเพลิงใน

การอบอิฐบล็อก และทำเครื่องสำอางจากผงละอองไผ่ เป็นต้น และล่าสุดทางมูลนิธิฯ ได้ทำการทดลองการ

นำถ่านไม้ไผ่มาผลิตเป็นแก๊สรถยนต์ จนประสบความสำเร็จ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นผู้ทดลองขับ

รถยนต์กระบะติดตั้งแก๊สจากถ่ายไม้ไผ่เป็นคนแรก ซึ่งรถใช้แก๊สจากถ่านไม้ไผ่ของชุมชนผาปัง ถือว่าเป็นคัน

แรกในเอเชีย

 

 

นายรังสฤษฏ์ คุณชัยมัง ที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง อ.แม่พริก เปิดเผยว่า การนำถ่านมาผลิตเป็น

แก๊สนั้นเป็นทฤษฎีสากลทั่วไป ซึ่งเดิมวิถีชีวิตของคนเราก็ใช้ถ่านกันมานานแล้ว โดยเฉพาะเรื่องถ่านไม้ไผ่

ตั้งแต่ที่มีองค์การแบตเตอรี่ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปองค์การแบตเตอรี่ก็ถูกยกเลิก การวิจัยเรื่องถ่านไม้ไผ่

ก็หายไปด้วย เปลี่ยนมาเป็นเป็นแบตเตอรี่ที่นำเข้าจากประเทศอื่น

แต่ในเมื่อกลุ่มของเรามีวัตถุดิบที่เป็นถ่านไม้ไผ่เปรียบคือ คาร์บอน และอากาศก็เปรียบคือ ออกซิเจน เมื่อ

รวมกันกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งสามารถนำมาทำเป็นแก๊สได้ และเห็นว่าแก๊ส LPG และ NGV ก็

สามารถนำมาใช้ในรถยนต์ได้ จึงเริ่มทดลองนำถ่านไม้ไผ่ซึ่งมีพลังงานความร้อนสูงมาก มาประยุกต์ทำเป็น

แก๊ส โดยเริ่มทดลองกับแก๊สหุงต้มก่อน จึงขยับมาทดลองกับเครื่องยนต์ และทดลองกับรถยนต์ตามลำดับ

จนประสบความสำเร็จใช้งานได้จริง

มิสเตอร์ Koen Uan Looken วิศวกรหนุ่มชาวเบลเยี่ยม ผู้ที่ให้ความสนใจในการผลิตพลังงานจากไผ่ของ

ชุมชนผาปัง อาสาตัวเข้ามาช่วยในเรื่องของการดำเนินการวิจัยและการทดลอง รวมถึงการพัฒนาให้การผลิต

พลังงานจากไผ่ของชุมชนผาปังก้าวไปข้างหน้า โดย มิสเตอร์ Koen Uan Looken กล่าวว่า ชิ้นส่วนของไผ่

ที่เหลือจากอุตสาหกรรมทั้งระบบ นำไปเข้าเตาเผานาน 3-6 ชั่วโมง เมื่อได้ถ่านไม้ไผ่แล้ว ก็นำเข้าเครื่องบด

หยาบ หากต้องการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงต้นทางของพลังงาน เมื่อนำไปใส่ยังเครื่องผลิตพลังงานจากไม้ไผ่

มีลักษณะเป็นถัง มีท่อเชื่อมต่อไปยังแหล่งกำเนิดพลังงาน ไม่ได้มีระบบซับซ้อนแต่อย่างใด เป็นการแปรรูป

พลังงานอย่างง่าย ไม่มีระบบออโตเมติกแม้แต่ชิ้นเดียว

 

 

ที่ปรึกษามูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง กล่าวต่อไปว่า รถยนต์ที่นำมาทดลองติดตั้งแก๊สจากถ่านไม้ไผ่นั้น เป็นรถยนต์

กระบะ โดยจะมีถังสำหรับใส่ถ่านไม้ไผ่ความจุ 25 กิโลกรัม ใช้วิธีการติดไฟให้ถ่านมีความร้อนอยู่ตลอดเวลา ใช้

เครื่องยนต์ดูดแก๊สเข้าไปให้เครื่องยนต์ทำงานลักษณะเดียวกับแก๊ส LPG และ NGV ซึ่งถ่านไม้ไผ่ 5 กิโลกรัมรถ

จะวิ่งได้ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตร เพราะฉะนั้นหากบรรจุถ่านเต็มถัง 25 กิโลกรัม รถจะวิ่งได้ระยะทาง 500

กิโลเมตร และราคายังถูกกว่าแก๊สรถยนต์อื่นๆ เนื่องจากถ่านที่ใช้หากเผาเองจะราคากิโลกรัมละ 6 บาท ถังหนึ่งอยู่

ที่ราคา 150 บาทเท่านั้น

หากซื้อถ่านจากร้านค้าทั่วไปอยู่ที่กิโลกรัมละ 10 บาท เท่ากับถังละ 250 บาท เฉลี่ยกิโลเมตรละ 0.50 บาท

เท่านั้น ถูกกว่าแก๊ส LPG และ NGV มาก เชื่อว่ารถยนต์คันนี้เป็นรถยนต์ที่ใช้แก๊สจากถ่านไม้ไผ่คันแรกของ

ประเทศไทย และถือว่าเป็นคันแรกของเอเชียเลยก็ว่าได้ โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นผู้ที่ได้ทดลองขับ

เป็นคนแรกด้วย นอกจากนั้น ยังได้ทดลองกับรถจักรยานยนต์ และรถสามล้อ ซึ่งจะนำมาทดลองใช้ในงานส่ง

เสริมนวัตกรรมไผ่จังหวัดลำปาง

มิสเตอร์ Koen Uan Looken อธิบายว่า การเผาไหม้ของถ่านเมื่อใช้กับแก๊สหุงต้มจะไม่เกิดเขม่าหรือขี้เถ้า

แต่จะหลงเหลือซิลิกาขนาดเล็กไว้แทน ซึ่งส่วนนี้ทางวิสาหกิจชุมชนผาปังก็นำไปจำหน่ายให้กับโรงงานทำ

กระจก เป็นรายได้จากไผ่อีกทอดหนึ่ง เมื่อถ่านไผ่ปริมาณลดลงตามการใช้งานก็สามารถเติมถ่านไผ่เข้าไปได้อีก

ขั้นตอนต่อไปจะนำรถยนต์ไปเข้าทดสอบมาตรฐานสมรรถภาพเครื่องยนต์กับแก๊สกับกรมขนส่ง และกรมธุรกิจ

พัฒนาพลังงาน เพื่อนำมาใช้งานได้จริง หากผ่านการทดสอบก็จะจดสิทธิบัตรเป็นของมูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง

ส่วนของการนำถ่านไม้ไผ่มาใช้แทนแก๊สหุงต้มในครัวเรือนก็จะมีการเปิดห้องเรียนให้ชาวบ้านมาฝึกฝนการใช้แก๊ส

ให้ถูกต้องต่อไป

************************

(ขอขอบคุณเรื่องจาก  ภูมปัญญาชาวบ้าน)