เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ผลกระทบจากวันลอยกระทงเชื่อว่าคงมีอีกหลายที่ อย่างที่สมาชิกเฟสบุ๊ก Ponthep Meunpong นำมาโพสต์นี้มีเนื้อหาอยู่ว่า

ถ้าใครเข้ามาใน ม.เกษตร ทางประตูพหลโยธินจะเจอสระน้ำใหญ่ๆ ที่ชาวเกษตรเราเรียกว่าสระพระพิรุณเพราะมีรูปปั้นของพระพิรุณทรงนาคตั้งอยู่กลางสระ ทุกๆปี เมื่อมีงานลอยกระทง สระแห่งนี้จะเป็นสถานที่ที่ผู้คนทั้งจากข้างนอก และนิสิตเกษตรจะต้องมุ่งหน้ามาเพื่อนำกระทงมาลอยที่นี่ หลายพันหลายหมื่นใบในคืนเดียว

.

ผมวิ่งผ่านสระนี้เกือบทุกวัน แต่ 2 วันมานี้หลังงานลอยกระทง ผมสังเกตเห็นปลาจำนวนมากผิดปกติลอยตายอยู่ริมตลิ่ง เท่าที่เดินดูก็พบเกือบทั่วทั้งบ่อ ส่วนใหญ่เป็นปลาใจเสาะตายง่าย เช่น พวกปลาตะเพียน หรือปลามีเกล็ดชนิดอื่นๆ ที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำ และปลาอีกมากมายที่กำลังขึ้นมาพะงาบ ๆ ฮุบอากาศบนผิวน้ำ รอบๆ สระมีเศษขนมปังที่นำมาลอยเป็นกระทงยังลอยเกลื่อนอยู่ทั่ว ไม่เห็นมีปลามากินอย่างที่เค้าว่ากัน

และคิดว่านี่คือสาเหตุนึงที่ทำให้ปลาตาย
.

ผมไม่รู้ว่าขนมปังพวกนี้ทำมาจากอะไรบ้าง แต่คิดว่าคงเป็นพวก แป้ง ยีสต์ น้ำตาล ซึ่งขนมปังจำนวนมากที่ปลาไม่กินเหล่านี้จะเหลืออยู่ในน้ำ ส่วนที่ลอยให้เห็นอาจเป็นเพียงส่วนนึง แต่ที่จมอยู่ใต้น้ำอีกไม่รู้เท่าไหร่ ขนมปังที่มีองค์ประกอบเป็นสารอินทรีย์เหล่านี้จะถูกย่อยสลายโดยผู้ย่อยสลายที่สําคัญคือแบคทีเรียแอโรบิก (aerobic bacteria) มันเป็นแบคที่เรียที่ต้องใช้ออกซิเจนในการย่อยสลายสาร เมื่อมีเศษขนมปังในน้ำมาก แบคทีเรียเหล่านี้ต้องใช้ออกซิเจนในน้ำในปริมาณที่มากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ(ดีโอ DO : Dissolved Oxygen) เหลืออยู่น้อย นั่นเอง

.

ปลาก็ต้องใช้ออกซิเจนที่อยู่ในน้ำเพื่อหายใจเช่นกัน เมื่อออกซิเจนน้อยลง ปลาที่ทนไม่ไหวก็คงตายก่อน ปลาที่ทนไหวก็อดทนรอจนขนมปังพวกนี้ย่อยหมด และสภาพน้ำกลับมาดีอีกครั้ง

.

ไม่ว่าจะใช้อะไรทำกระทง สุดท้ายเมื่อพ้นจากมือไปมันก็คือขยะที่ถูกทิ้งลงในแหล่งน้ำเหมือนกัน

ถ้าคุณอยากจะทำอะไรสักอย่างเพื่อบูชาพระแม่คงคา ปีหน้า ในเช้าหลังคืนลอยกระทง มาเดินเก็บกระทงขึ้นจากน้ำกันดีกว่าครับ