เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

สถานการณ์ในปัจจุบัน ในการปราบปรามยาเสพติดของหน่วยงานต่างๆที่มีหน้าที่จับผู้เสพผู้ค้ายาเสพติด และตามกระแสข่าวที่เราได้เห็นกันในช่วงนี้มีทั้งเจ้าหน้าที่ยัดยาเสพติดรีดไถ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายหลักที่จะโดนรีดไถและยัดยาเสพติด หรือเพิ่มจำนวนยาเสพติดเพื่อเปลี่ยนรูปคดีจากผู้เสพเป็นผู้ค้า โดยกลุ่มคนเหล่านี้มักจะเป็นกลุ่มคนที่เคยต้องคดียาเสพติดมาก่อน และก็ได้มีการฟ้องร้องและขอความเป็นธรรมตามข่าวที่ได้เห็นกันไป ป.ป.ส. จึงได้แถลงการณ์ถึงข้อปฏิบัติของเจอที่ในการตรวจค้นและปราบปรามยาเสพติดอย่างถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนที่บริสุทธิ์จะต้องสูญเสียทรัพย์สินและอิสรภาพ

จากกรณีที่มีผู้เสียหายเข้าแจ้งความ ตร.สภ.บ่อวิน จังหวัดชลบุรี หลังถูกกลุ่มชายฉกรรจ์ อ้างตนเป็น เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. ขอตรวจค้นจับกุมในข้อหาเสพยาเสพติดและนำตัวไปกักขังหน่วงเหนี่ยวพร้อมกรรโชกทรัพย์ เพื่อแลกกับอิสรภาพ  โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2561 เวลาประมาณ 19.00 น. ณ ปั้มน้ำมันแห่งหนึ่ง ต.บ่อวิน อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ตามที่ปรากฏเป็นข่าวออกไปนั้น 

สำนักงาน ป.ป.ส. ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าหน้าที่ดังกล่าวแล้วในเบื้องต้น พบว่า 1 ใน 7 ของเจ้าหน้าที่ชุดดังกล่าว เป็นผู้ถือบัตรเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ซึ่ง สำนักงาน ป.ป.ส. ได้มีหนังสือแจ้งไปยังต้นสังกัดเพื่อให้ระงับการมอบหมายภารกิจด้านยาเสพติดและการใช้บัตรประจำตัวเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เป็นการชั่วคราว จนกว่ากระบวนการสอบสวนทางคดีจะเป็นที่ยุติ สำหรับการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส ในการเข้าไปในเคหสถาน หรือสถานที่ใด ๆ เพื่อตรวจค้นบุคคล ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. นั้น อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 และระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ว่าด้วยการแต่งตั้งการปฏิบัติหน้าที่และการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. พ.ศ. 2545 ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

      1. ก่อนเข้าตรวจค้น จะต้องแสดงหมายค้นและอ่านหมายแจ้งผู้ครอบครองเคหะสถาน

     2. ในกรณีที่ไม่มีหมายค้น จะดำเนินการได้ต่อเมื่อมีเหตุจำเป็นในการเข้าค้น เนื่องจากหากเนิ่นช้าผู้กระทำผิดจะหลบหนีหรือมีการโยกย้ายยาเสพติดหรือทรัพย์สินนั้น โดยเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. จะต้องแสดงบัตรประจำตัวเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ต่อเจ้าของหรือผู้ครอบครองเคหะสถานนั้นด้วย

     3. การตรวจค้นจะต้องแสดงความบริสุทธิ์ใจ โดยการให้ผู้ครอบครองเคหะสถานร่วมในการตรวจค้น

     4. เมื่อทำการตรวจค้นเรียบร้อยแล้ว จะต้องบันทึกผลการตรวจค้นและเหตุในการตรวจค้นเป็นหนังสือให้ไว้แก่ผู้ครอบครองเคหะสถานด้วย รวมถึงรายงานให้เลขาธิการ ป.ป.ส. ทราบ ภายในเวลา 15 วัน

นายศิรินทร์ยา สิทธิชัย เลขาธิการ ป.ป.ส. ชี้แจงว่า “จากกรณีข้างต้น หากพบว่าเจ้าหน้าที่ดังกล่าวกระทำความผิดจริง โดยใช้อำนาจหน้าที่การเป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. โดยมิชอบหรือเกินขอบเขตตามที่กฎหมายกำหนด จะถูกเพิกถอนการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. และให้ออกจากราชการ รวมทั้งจะถูกดำเนินคดีอาญาตามกฎหมาย และขอแจ้งเตือนประชาชนให้ระมัดระวัง หากพบว่ามีการแอบอ้างเป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ขอให้ตรวจสอบวิธีการใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. ตามที่กล่าวมาข้างต้น หรือสามารถแจ้งได้ที่สายด่วน ป.ป.ส. 1386 ตลอด 24 ชั่วโมง”