เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ยอมรับว่าขณะนี้น้ำใน 12 ทุ่งแก้มลิงมีปริมาณมาก แต่กรมชลฯกำลังบริหารจัดการ เชื่อว่าสามารถควบคุมให้อยู่ในระบบได้ แม้ว่าจากแผนที่ทางอากาศของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า จะพบว่ามีน้ำปริมาณมาก แต่ขอยืนยันว่า น้อยกว่าปี 2554 โดยพบว่าปริมาณน้ำบริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาจะมากกว่าฝั่งตะวันออก ขณะที่เครื่องมือบริหารจัดการน้ำในฝั่งตะวันตกมีจำนวนจำกัด กรมชลฯจึงเตรียมระบายน้ำให้ไหลลงไปยังฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยามากขึ้น เพราะมีเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำมากกว่า ส่วนฝั่งตะวันตกก็ใช้เครื่องสูบน้ำให้ไหลออกท่าจีนให้ได้มากที่สุด

นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำที่ค้างอยู่บริเวณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสุพรรณบุรี มีปริมาณ 1,300 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งมากกว่าความจุเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่มีความจุ 756 ล้าน ลบ.ม. เป็นเขื่อนขนาดเล็ก ซึ่งขณะนี้มีปริมาณน้ำเกินความจุเขื่อนแล้วนั้น กรมชลประทานได้บริหารน้ำเหนือ โดยเอาเข้าไปเก็บในแก้มลิงที่มีอยู่ประมาณ 12 แก้ม ตอนนี้แก้มลิงเต็มแล้วมีปริมาณมากกว่า 95% ของความจุของแก้มลิงทั้งหมดที่จะรับได้ สำหรับสัดส่วนน้ำที่อยู่ในแก้มลิง ทางฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยามีประมาณ 800 ล้าน ลบ.ม. และฝั่งตะวันออกแม่น้ำเจ้าพระยามีประมาณ 500 ล้าน ลบ.ม.

 

นายสัญญากล่าวว่า ส่วนภาพน้ำที่ค้างในแก้มลิงจำนวนมาก ที่ประชาชนในแถบฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จิสด้าได้สำรวจในแผนที่ทางอากาศ พบว่ามีน้ำจำนวนมากที่จ่อที่จะไหลลงมายังจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี นครปฐม หรือจังหวัดริมฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยานั้นเบื้องต้นกรมชลฯดำเนินการบริหารจัดการอยู่แล้ว น้ำปริมาณดังกล่าวแม้อยู่ในทุ่งจำนวนมาก แต่อยู่ในแผนของกรมชล ที่มีการตัดสินใจระบายน้ำเข้าแก้มลิงฝั่งตะวันตกมากกว่า ฝั่งตะวันออก ไม่ใช่การเลือกปฏิบัติ แต่กรมชลประทานเห็นว่า ฝั่งตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา มีศักยภาพ มีปริมาณแก้มลิงจำนวน 7 แห่ง สามารถรับน้ำได้มากกว่าฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา

ที่มา – matichon