เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

     นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “ลาขาดควันยาสูบ” หรือ “ECST” และแอดมินเฟซบุ๊ค “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” เปิดเผยว่า การประชุมประจำปี Global Forum on Nicotine ที่ กรุงวอร์ซอว์ ประเทศโปแลนด์ เป็นที่สนใจของตัวแทนจากองค์กรต่างๆ จาก 60
ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมประชุมกว่า 500 คน และมีการนำเสนอผลการวิจัยและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งสรุปตรงกันว่ามีความปลอดภัยกว่าบุหรี่แบบดั้งเดิมและไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีสารก่อมะเร็งน้อยกว่าควันบุหรี่

ทั้งนี้ มีการพูดถึงผลการวิจัยใหม่ๆ จากสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือจากหลายประเทศ เช่น ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยลูเวิน ประเทศเบลเยี่ยม ระบุว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่แบบไม่เผาไหม้ช่วยลดอาการอยากบุหรี่ลงได้ นอกจากนี้ การศึกษาของ และดร.คอนสแตนตินอส ฟาซาลินอส ระบุว่า เยาวชนอเมริกันที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อน หันมาติดบุหรี่ไฟฟ้ามีน้อยมากหรือเพียง 0.3% เท่านั้น สอดคล้องกับการศึกษาในกลุ่มประชากรผู้ใหญ่จำนวน 4,058 คนที่ทำขึ้นในประเทศกรีกก็ได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกันคือ 54.1% เคยทดลองบุหรี่ไฟฟ้า แต่มีเพียง 0.2% เท่านั้นที่เป็นผู้ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อนแต่เป็นผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นประจำ และยังมีการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ชื่อดัง BMJ ที่ศึกษาเปรียบเทียบความอันตรายของควันบุหรี่กับไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้า พบว่าไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้ามีสารก่อมะเร็งน้อยกว่าควันบุหรี่

 อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัยนี้ช่วยตอบคำถามที่หน่วยงานสาธารณสุขหลายๆ ประเทศรวมทั้งประเทศไทย ที่เคยกังวลว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้เป็นตัวดึงดูดนักสูบหน้าใหม่ และเป็นทางเลือกที่ดีกว่าให้กับผู้สูบบุหรี่หรือผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ได้ น่าเสียดายที่ไม่มีตัวแทนจากภาครัฐของไทยเข้าร่วมฟังการประชุมครั้งนี้ ทำให้ไม่มีโอกาสได้รับฟังข้อมูลใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดแนวทางการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าให้เหมาะสม