เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

จากกรณีที่มีข่าวมาก่อนหน้านี้ว่า รัฐบาลมีการเจรจาเรื่องวัคซีนไฟเซอร์ และมีการลงนามในสัญญาจองซื้อวัคซีนโควิด 20 ล้านโดสเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะได้รับวัคซีนปลายปี 2564 ขณะที่วัคซีนโมเดอร์นา ทางองค์การเภสัชกรรมก็กำลังเดินเรื่องอยู่ ส่วนทางโรงพยาบาลเอกชน ก็มีการเปิดให้จ่ายเงินค่าวัคซีนแล้ว

นพ.บุญ วนาสิน จาก บริษัทธนบุรี เฮลธ์แคร์ กรุ๊ป จำกัด เผยว่า นับตั้งแต่การระบาดของโควิด 19 ทางโรงพยาบาลและเครือโรงพยาบาลธนบุรี ต่างวางแผนกันตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 ว่าจะมีการซื้อวัคซีน 4-5 ชนิด ประมาณ 50 ล้านโดส แต่รัฐบาลบอกว่า โรงพยาบาลเอกชนสั่งเองไม่ได้ เพราะเป็นการใช้ฉุกเฉิน ต้องซื้อขายแบบรัฐต่อรัฐ และห้ามซื้อวัคซีน 5 ชนิดที่รัฐบาลสั่งซื้อ จึงเหลือแค่วัคซีนที่เอกชนซื้อได้คือ ไฟเซอร์ โมเดอร์นา โนวาแว็กซ์ แต่ทั้งหมดต้องซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรม

           เมื่อสอบถามไปยังบริษัทผู้ผลิต พบว่า หากเซ็นสัญญาแล้ว ต้องใช้เวลาอีก 4 เดือนถึงสามารถส่งวัคซีนได้ เช่น สมมุติเซ็นสัญญาเดือนกรกฎาคม กว่าจะได้วัคซีนคือตุลาคม ซึ่งถ้าไม่ติดเงื่อนไขใด ๆ ทางโรงพยาบาลธนบุรีพร้อมสั่งซื้อทั้งไฟเซอร์และโมเดอร์นา 50 ล้านโดส ตั้งแต่ตุลาคม 2563 ถึงจะได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 แต่เนื่องจากติดที่การดำเนินการของภาครัฐ ทำให้ทางโรงพยาบาลเอกชน ต้องรอวัคซีนจนถึงปัจจุบัน
          ต่อมาในเดือนเมษายน 2564 มีการยืนยันจากทั่วโลกว่า วัคซีน  mRNA (ไฟเซอร์-โมเดอร์นา) คือวัคซีนที่ดีที่สุด และมีผลการทดลองออกมาแล้ว ทั้งป้องกันการติด ไม่ใช่แค่ป้องกันการเสียชีวิตหรือป่วยหนักเท่านั้น และป้องกันได้หลากหลายสายพันธุ์  นอกจากนี้ มีความเป็นไปได้ว่า คนที่ฉีดทั้งวัคซีนเชื้อเป็น (แอสตร้าเซนเนก้า) และวัคซีนเชื้อตาย (ซิโนแวค) อาจต้องฉีดวัคซีนถึง 3 เข็มเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่คนที่ฉีดวัคซีน mRNA มีแนวโน้มฉีดเพียง 2 เข็มเท่านั้น

นพ. บุญ เผยอีก ดีลไฟเซอร์-โมเดอร์นา ตอนนี้ ยังไม่ได้ เพราะยังไม่เซ็นสัญญาใด ๆ โทร. ถามผู้ผลิตให้แล้ว

          จากนั้น นพ.บุญ ยังเผยต่อว่า เรื่องนี้ทำให้สงสัยว่า ทำไมไทยได้วัคซีนช้า ทั้งที่ประเทศอื่นในเอเชีย เช่น ฟิลิปปินส์ได้ไปแล้ว 3 รอบ รวม 40 ล้านโดส มีแค่ประเทศไทยที่ยังไม่มีวัคซีนแบบ mRNA แม้แต่โดสเดียว  ตนจึงตรวจสอบความคืบหน้าของดีลวัคซีนไปทางผู้ผลิตไฟเซอร์และโมเดอร์นา  ซึ่งสนิทเป็นการส่วนตัวกับโรงพยาบาลเอกชนในไทยอยู่แล้ว พบว่า ไทยยังไม่ยอมเซ็นสัญญาในการซื้อขายวัค
          “ณ ขณะนี้ ยังไม่เซ็นเลย ทั้งไฟเซอร์ โมเดอร์นา เราก็เอ๊ะ…ทำไมนานนัก เราก็ยินดีที่จะเอาเงินไปวางไว้ให้ เพื่อไม่ให้เภสัชกังวลว่าไม่มีเงินจ่ายให้ แต่องค์การเภสัชบอกว่า ยังเอาเงินมาไม่ได้ และองค์การเภสัชเพิ่งจะส่งจดหมายให้เรายืนยันว่า จะซื้อคนละเท่าไร ซึ่งเรายืนยันไปตั้งแต่เมษาว่า เราซื้อหมด 5 ล้านโดส ยินดีเอา 15,000 ล้านมาวางไว้ให้ และถ้าเอกชนรายไหนจะซื้อ เรายินดีแบ่งให้ แต่เราต้องการให้องค์การเภสัช ไปเซ็นสัญญาก่อน อันนี้คือจุดที่สำคัญที่สุด เหมือนไฟเซอร์ป่านนี้ยังไม่เซ็น ประเทศไทยยังไม่ได้เลยสักโดส” นพ.บุญ กล่าว
  ในขณะเดียวกัน พ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และบอร์ดองค์การเภสัชฯ เผยว่า ขั้นตอนการจัดหาวัคซีนโมเดอร์นานั้น ยังอยู่ในขั้นตอนของการร่างสัญญาให้เป็นไปตามกฎหมายของไทยและต่างประเทศ ยืนยันว่าไม่มีปัญหา จัดหาเป็นไปตามขั้นตอน สอดคล้องกับที่ นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์. ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวว่า กำลังรอบริษัทซิลลิค ฟาร์มา และบริษัทเอกชน ยืนยันการจองวัคซีนอย่างเป็นทางการมาให้ในต้นเดือนกรกฎาคมนี้ และคาดว่าจะได้รับวัคซีนช่วงแรก 3.9 ล้านโดส และปีหน้า 1.1 ล้านโดส

ไทยตรวจเชิงรุกน้อยมาก – เอกชนไปกู้เงินมาจ่ายก่อน แต่ล่าช้า ดอกเบี้ยบาน

ขณะเดียวกัน ทางโรงพยาบาลเอกชน มองว่า ไทยตรวจเชิงรุกน้อยมาก ตรวจเพียงร้อยละ 5 ซึ่งตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ควรตรวจอย่างน้อยร้อยละ 15 อย่างต่างประเทศเช่น จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ ตรวจเชิงรุกมากกว่าร้อยละ 30-40

นอกจากนี้ นพ.บุญ ยอมรับว่า เครือโรงพยาบาลธนบุรี กู้เงินกว่า 1.5 หมื่นล้านบาทเพื่อซื้อวัคซีนผ่านองค์การเภสัชกรรม แต่ความล่าช้าของรัฐบาล เอกชนต้องเสียดอกเบี้ยช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ดังนั้น ราคาวัคซีนโมเดอร์นาที่เหมาะสมคือ โดสละ 1,700 บาท โดยในตอนนี้โรงพยาบาลในเครือจองวัคซีนแล้วกว่า 5 ล้านโดส

 สุดท้าย ตนอยากฟังความชัดเจนของทางรัฐบาลว่า ทำไมการสั่งวัคซีน mRNA ถึงได้ช้า ทำไมขณะนี้ยังไม่ได้วัคซีน ทั้งที่มีผลยืนยันว่า วัคซีนประเภทนี้ได้ผลดีที่สุดและผลข้างเคียงน้อยสุด ส่วนซิโนแวค หลายประเทศที่ฉีดก็มีการติดเชื้อที่ยังเยอะอยู่

ในมุมมองโรงพยาบาลเอกชน มองว่า การระบาดที่ผ่านมารัฐบาลประมาทเกินไป ทั้งที่นักวิชาการเตือนแล้วว่า โควิด 19 กลายพันธุ์เร็วมาก รัฐบาลกลับรอวัคซีนชนิดเดียวคือ แอสตร้าเซนเนก้า แต่เมื่อแอสตร้าเซนเนก้าผลิตไม่ทัน ก็เลือกซิโนแวคมาแทน ต้องยอมรับว่า คุณภาพสู้วัคซีน mRNA ไม่ได้เลย