เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

เที่ยงวันทันเหตุการณ์ รายงานว่า ชาวเน็ตรายหนึ่งโพสต์แชร์เรื่องราวของตนที่ถูกโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งเรียกเก็บค่ารักษาโควิดของพ่อสูงถึง 7 แสนบาท ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ทาง สปสช. ออกมาระบุชัดเจนทุกคนสามารถรักษาโควิดฟรีโดยไม่มีค่าใช้จ่ายว่า ก่อนหน้าพ่อของตนมีอาการเหนื่อยเพลีย พยายามติดต่อขอตรวจโควิด 19 แต่ไม่มีโรงพยาบาลไหนรับตรวจ จนรอคิวตรวจโควิดที่โรงพยาบาลแรก เมื่อวันที่ 23 เมษายน ที่ผ่านมา กระทั่งเช้าของวันที่ 24 เมษายน พ่อหายใจไม่ออก อ่อนเพลีย จึงขอแอดมิตที่โรงพยาบาลนี้เลย แต่ทาง รพ. แจ้งว่าเตียงเต็ม ทางบ้านจึงวิ่งหาโรงพยาบาลเพื่อรักษาโดยด่วน

สุดท้ายได้เข้าแอดมิตโรงพยาบาลที่ 2 ซึ่งตอนแรกทางโรงพยาบาลแจ้งว่าเตียงเต็มเช่นกัน แต่หลังจากนั้นพนักงานโรงพยาบาลก็แจ้งว่า มีเตียงแล้วแต่หากแอดมิตต้องวางมัดจำเงินสดไว้ 1 แสนบาท คุณแม่จึงจำเป็นต้องวางเงินเพื่อให้คุณพ่อได้รับการรักษาด่วน (24 เมษายน 2564) ซึ่งถูกนำเข้าห้อง ICU ทันที ต่อมาก็มีการเรียกเก็บเงินเพิ่มเติม โดยจะเรียกเก็บผ่านคุณแม่ ไม่มีข้อมูลค่ารักษาโควิด และห่วงว่า ถ้าไม่ชำระเงินตาม รพ. เรียกเก็บ คุณพ่อจะไม่ได้รับการรักษาต่อเนื่อง โดยมีการเรียกชำระรอบบิลแรก เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2564 จำนวน 3 แสนบาท และเรียกเก็บอีก รวมยอดชำระแล้ว 5 แสนบาท

 ต่อมาวันที่ 9 พฤษภาคม 2564 เวลา 03.00 น. พยาบาลแจ้งว่า คุณพ่อเสียชีวิต จากนั้นทาง รพ. ก็ได้เรียกเก็บเงินเพิ่มอีก 190,000 หมื่นบาท พร้อมระบุทำนองว่าหากไม่ชำระเงินก็จะไม่ออกใบมรณบัตร และนำศพออกไปทำพิธีไม่ได้ พวกตนจึงโทร. ประสานสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือ สปสช. ให้ช่วยเหลือจนสุดท้ายสามารถออกใบมรณบัตรได้


นอกจากนี้หลังจากทราบเรื่องทาง สปสช. ก็พยายามช่วยไกล่เกลี่ยให้โรงพยาบาลคืนเงินเรียกเก็บจากคุณแม่ แต่ทางโรงพยาบาลกลับปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษาโรงพยาบาลแรก ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เนื่องจากพวกตนไม่เคยปฏิเสธการรักษา แต่โรงพยาบาลแรกเตียงเต็ม

          เจ้าของเรื่องระบุว่าอีก ตนไม่เข้าใจว่าเพราะเหตุใดการขอตรวจ และแอดมิตสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ถึงได้ยากเย็นเช่นนี้ ทั้งที่ไม่ได้ขอฟรี นี่คือสิ่งที่ประชาชนต้องยอมรับหรือ หากวินาทีที่ผู้ป่วยต้องการรักษาทาง รพ. เรียก 1 ล้าน ประชาชนก็ต้องยอมจ่ายก่อนอย่างนั้นหรือถ้ายังไม่อยากเสียชีวิต