เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

จากกรณีหวยอลเวง 30 ล้านบาท ระหว่าง “ครูปรีชา” นายปรีชา ใคร่ครวญ อายุ 50 ปี กับ “ลุงจรูญ” ร.ต.ท.จรูญ วิมูล อดีตนายตำรวจ ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างว่าตนเองเป็นเจ้าของลอตเตอรี่ทั้งสองฝ่าย ต่อมา ผบช.ภ.7 ออกมาแถลงหวย 30 ล้านบาท ตามพยานหลักฐานน่าจะเป็นของครูปรีชาและเตรียมแจ้งข้อหากับ ลุงจรูญ ยักยอกทรัพย์ที่ตกหายพ่วงด้วยรับของโจร อย่างไรก็ตามเรื่องดังกล่าวเคยเกิดขึ้นและ เคยมีคำสั่ง อสส.(อัยการสูงสุด) เด็ดขาดไม่ฟ้อง หวย ลอตเตอรี่ เพราะไม่ใช่ทรัพย์มีทะเบียนผู้ใดครอบครอง ย่อมเป็นเจ้าของลอตเตอรี่

เมื่อวันที่ 6 ม.ค.นายธนธร ทาคำฟู นักวิชาการด้านกฎหมาย ม.แม่ฟ้าหลวง  กล่าวถึงกรณีลอตเตอรี่ไม่ใช่ทรัพย์มีทะเบียน ผู้ใดครอบครอบ ย่อมเป็นเจ้าของ ว่า 1.เมื่อสลากกินแบ่งฯ เป็นทรัพย์ทั่วไป ผู้ใดที่มีสลากกินแบ่งฯ ในความครอบครอง จึงเป็นผู้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายในข้อสันนิษฐานว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ หากผู้ใดจำโต้แย้งว่าไม่ใช่เจ้าของ ก็จะต้องมีหลักฐานหักล้างได้ เช่น ดำเนินคดีอาญากับผู้มีสลากฯ นั้นในข้อหา ลักทรัพย์ ยักยอก หรือรับของโจร แล้วแต่กรณี แต่จะต้องมีคำพิพากษาของศาลในคดีอาญายืนยันว่า ผู้เอาสลากฯ ไปขึ้นรางวัลนั้นมีความผิดทางอาญา ครูปรีชา จึงจะมีโอกาสชนะคดี แต่ปัจจุบันอยู่เพียงชั้นตอนของพนักงานสอบสวนที่กำลังหมายเรียกหมวดจรูญ มารับข้อกล่าวหา คดียังไม่ถึงชั้นอัยการ หากอัยการไม่ฟ้อง ก็ไม่มีทางไปถึงศาลได้

สำหรับคำสั่งชี้ขาดของอัยการสูงสุด (อสส.) ที่เคยมีคำสั่งไม่ฟ้องหวยลอตเตอรี่ ที่มีกรณีใกล้เคียงกันนั้น เกิดขึ้นจากกระบวนการ 1.พนักงานสอบสวนเสนอควรสั่งฟ้อง เสนออัยการ  2.อัยการรับสำนวนมาจากตำรวจแล้วมีคำสั่งไม่ฟ้อง 3.เมื่ออัยการกับตำรวจเห็นไม่ตรงกัน ป.วิ.อาญา จึงให้เสนอต่อผู้ว่าฯ หรือผู้บัญชาการภาค หรือรองผู้บัญชาการภาค ทบทวน แล้วปรากฎว่าผู้ว่าฯ หรือผู้บัญชาการภาค หรือรองผู้บัญชาการภาค เห็นว่าต้องฟ้อง จึงส่งสำนวนทั้งหมดไปยังอัยการสูงสูดชี้ขาด และเมื่ออัยการสูงสุดได้รับเรื่องมา จึงชี้ขาดและอธิบายหลักกฎหมายว่า ที่อัยการไม่ฟ้องแต่เดิมนั้น ถูกต้องแล้ว ตามเหตุผลที่ว่า 1.สลากฯเป็นทรัพย์เปลี่ยนมือได้ง่าย ผู้ใดครอบครองผู้นั้นย่อมเป็นเจ้าของ 2.เมื่อผู้เสียหายที่อ้างว่าสลากฯหาย ไม่แจ้งความไว้ในโอกาสแรก จึงมีพิรุธ

ด้านนายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ทนายความ อาจารย์สอนกฏหมายวิชากฏหมายสื่อมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ค ระบุว่า *สลากกินแบ่งรัฐบาล มิใช่ทรัพย์สินที่ต้องจดทะเบียน เช่นเดียวกับทรัพย์สินทั่วไป เจ้าของกรรมสิทธิ์คือ “ผู้ครอบครอง” ใครครอบครองย่อมมีสิทธิ ยกเว้นผู้ครอบครองคนแรกแจ้งหายและแจ้งเลขหมายไว้ก่อนวันประกาศ จึงอาจโต้แย้ง การครอบครองได้ *

“การครอบครอง  1.คือยึดถือทรัพย์สินไว้โดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน ถือว่าได้สิทธิครอบครอง 2.เงื่อนไขรับรางวัลจะจ่ายแก่ผู้ถือสลาก หรือผู้ครอบครองสลาก ฉบับที่ถูกรางวัลนำมาขอรับ ลอตเตอรี่ มิใช่ทรัพย์จดทะเบียน ผู้มีกรรมสิทธิ์คือ’ผู้ครอบครอง’ เขียนแปะข้างฝาไว้ได้เลยว่า หมวดจรูญ คือผู้ชนะคดี “นายจักร์กฤษ ระบุ

อย่างไรก็ตามแต่ในทางคดี น่าเชื่อว่าอัยการจะสั่งสอบเพิ่มเติม เพราะการกระทำของผู้ต้องหา ยังไม่เข้าองค์ประกอบความผิด และสุดท้ายอาจมีคำสั่งไม่ฟ้อง

ที่มา – Dailynews