เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

เมื่อวันจันทร์ที่ 22 มี.ค. พ.ศ. 2564 สมาชิกคณะรัฐประหารของพม่า ในนั้นรวมถึงผู้บัญชาการตำรวจ และทหาร 2 กองพล ในความความเกี่ยวข้องเหตุปราบปรามนองเลือดประท้วงต่อต้านการยึดอำนาจ ท่ามกลางคำเตือนจากวอชิงตันว่ามาตรการเพิ่มเติมอาจมีตามมาอีก มวลชนเมียนมาต่างออกมารวมตัวกันยกระดับการประท้วง “จุดไฟเผาสิ่งกีดขวาง” ควันพวยพุ่งปกคลุมเหนือท้องฟ้าต่อเนื่อง อีกทั้งยัง “เผาโรงงานนักธุรกิจจีนหลายแห่ง” ตอกย้ำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

สถานการณ์ความรุนแรงในการปราบปรามกลุ่มผู้ชุมนุมที่ออกมาต่อต้านการรัฐประหารของกองทัพเมียนมานับแต่วันที่ 1 ก.พ. นานเกือบ 2 เดือน ก็ยังคงตึงเครียดหนักจากฝ่ายเจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงเมียนมา ที่ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 250 ราย ก่อนหน้านี้รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ขึ้นบัญชีดำสมาชิกระดับสูงของคณะรัฐประหารบางส่วนและบรรดาบริษัทต่างๆบางแห่งที่มีทหารเป็นเจ้าของไปแล้ว แต่ทางกองทัพยังคงปฏิเสธเปลี่ยนเส้นทาง และกลับใช้ความรุนแรงกับพวกผู้ประท้วงต่อต้านรัฐประหารหนักหน่วงยิ่งขึ้น ส่งผลให้จนถึงตอนนี้มีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 250 ราย

มาตรการของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เล็งเป้าหมายเล่นงาน ตาน ฮเลียง เจ้าหน้ากองทัพพม่า ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการกองกำลังตำรวจหลังรัฐประหาร และพลโทออง โซ ผู้บัญชาการปฏิบัติการพิเศษรับผิดชอบปราบปรามการชุมนุม ความเคลื่อนไหวคว่ำบาตรเปิดทางอายัดทรัพย์สินใดๆในสหรัฐฯของบุคคลที่อยู่ในบัญชีดำ และห้ามพลเมืองอเมริกันติดต่อทำธุรกิจกับบุคคลเหล่านี้ทั่วโลกต่างจับจ้อง “การบังคับใช้กฎอัยการศึกของรัฐบาลทหารเมียนมา” ที่มีคำสั่งให้ “กำลังรักษาความมั่นคง” เดินหน้าใช้กำลังเข้าปราบปราม “กลุ่มผู้ชุมนุม” ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐประหาร โดยปราศจากอาวุธในหลายพื้นที่ของประเทศกลายเป็น “เหตุจลาจล” โกลาหลวุ่นวายอย่างหนักหน่วงอยู่ขณะนี้