เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

หลังจากมีข่าวกราปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ แน่นอนมันย่อมมีผลกระทบตามมาไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่ง นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย เปิดเผยว่า มีธุรกิจการผลิต 5 กลุ่ม ที่มีความเสี่ยงมากขึ้น จากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 5-22 บาท เป็น 308-325 บาท เพราะมีต้นทุนด้านแรงงานที่สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน จนอาจย้ายฐานการผลิตไปกันอีก

สำหรับ 5 ธุรกิจการผลิตที่เสี่ยงเพิ่มขึ้นอีก ประกอบด้วย

กลุ่มเครื่องหนัง รองเท้า กระเป๋า

กลุ่มสิ่งทอ เสื้อผ้า

กลุ่มแผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า

กลุ่มเซรามิค

กลุ่มอาหารกระป๋อง  

ขณะที่ เมื่อปี พ.ศ.2555 มีการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ ก็มีการย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นที่มีต้นทุนค่าแรงขั้นต่ำที่ถูกกว่า จากนั้นเมื่อต้นปี พ.ศ.2560 ก็มีการขึ้นอีกรอบเป็น 305-310 บาท ทั้งนี้ การขึ้นค่าแรงตามนโยบายการเมือง โดยไม่ได้ฟังความเห็นของคณะกรรมการไตรภาคี ที่มีตัวแทนภาครัฐ ลูกจ้าง และนายจ้าง ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตไม่ได้เตรียมแผนรองรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ความเสี่ยงจึงเพิ่มขึ้น

สำหรับธุรกิจทั้ง 5 กลุ่มนี้ที่เสี่ยงเพราะผลิตสินค้าที่ต้องใช้แรงงานจำนวนมาก แต่ต้นทุนด้านแรงงานในไทยสูงกว่าเพื่อนบ้านในอาเซียน เช่น เมียนมา ที่ถูกกว่าไทย 3 เท่า ปัจจุบันอยู่ที่วันละ 87 บาท และกำลังจะปรับเป็น 112 บาท กัมพูชา เวียดนาม ถูกกว่าไทยประมาณ 2 เท่า อยู่ที่วันละประมาณ 162 บาท อินโดนีเซีย คิดค่าแรงตามโซนแต่ละรัฐ เฉลี่ยถูกกว่า 1.6 เท่า

อย่างไรก็ตาม หาก ครม.อนุมัติขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรอบนี้ และมีผล 1 เม.ย.นี้ ก็จะทำให้ประเทศไทยมีต้นทุนค่าแรงสูงสุดในอาเซียน กระทบกับต้นทุนของธุรกิจกลุ่มนี้มากขึ้น และเมื่อย้ายฐานการผลิตไปอีก ก็ทำให้แรงงานไทยกลุ่มนี้เสี่ยงตกงาน

นายธนิต เสนอว่า สำหรับวิธีการแก้ปัญหานั้น รัฐบาลไทยต้องเร่งหามาตรการพัฒนาทักษะให้แรงงานไทย โดยเฉพาะทักษะการเป็นแรงงานมีฝีมือ เพื่อมีโอกาสทำงานที่ใช้ความสามารถเฉพาะ นอกจากไม่ตกงานยังได้ค่าแรงเพิ่มขึ้นอีกด้วย.

ที่มา – ไทยรัฐ