เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

สำรวจ…!! ความเห็นสังคมในคดี”บอส อยู่วิทยา” พบอยากให้มีการปฏิรูป”กระบวนการยุติธรรม”

วันที่ 24 สิงหาคม สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย หรือ TIJ สำรวจความเห็นประชาชนเกี่ยวกับคดีของบอส อยู่วิทยา ส่วนใหญ่เชื่อว่า มีการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมในการทำคดี และส่วนใหญ่อยากให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม ขณะที่จะมีการนำข้อมูลชุดดังกล่าวส่งให้คณะกรรมการอิสระของศาสตราจารย์วิชา มหาคุณอีกด้วย

นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันเปิดเผยถึงการทำแบบสำรวจกลุ่มประชาชนต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในคดีของนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ซึ่งการสำรวจเริ่มระหว่างวันที่ 15 – 18 สิงหาคมที่ผ่านมา มีผู้ร่วมตอบแบบสอบถาม 4,008 คน โดยแบบสำรวจแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกความรู้สึกและความคาดหวังต่อคดี ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถาม รู้สึกไม่ดี หรือรับไม่ได้มากที่สุดเกี่ยวกับคดีนี้ ร้อยละ 65.59 คือ การทำสำนวนคดีที่ยืดระยะเวลาออกไปอย่าไม่มีเหตุสมควรจนทำให้บางข้อหาหมดอายุความ และร้อยละ 65.29 มีความคิดเห็นว่า คดีมีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองและจากกลุ่มผู้มีอิทธิพลของกลุ่มนายทุน

สำหรับภาพรวมของคดีที่ไม่พอใจมากที่สุดระบุว่าไม่พอใจที่กฎหมายไม่ได้ถูกบังคับใช้กับทุกคนอย่างเสมอภาค เพราะกระบวนการยุติธรรมถูกซื้อได้ด้วยเงินและอำนาจ ร้อยละ 56.76 ส่วนความคาดหวังคดีต่อจากนี้ หลังจากที่เป็นกระแสของสังคมและเริ่มมีการตรวจสอบจากทั้งตำรวจ อัยการ และคณะกรรมการอิสระ ที่นายรัฐมนตรีตั้งขึ้น ร้อยละ 89.05 คาดหวังให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องชี้แจงข้อเท็จจริงอย่างละเอียด และอยากให้ตรวจสอบเจ้าหน้าที่ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งการรื้อสำนวนคดีมาใหม่จนไปถึงการนำตัวผู้ต้องหามารับโทษหลังจากศาลมีคำพิพากษา

ในส่วนที่สอง ความรู้สึกและความคาดหวังต่อกระบวนการยุติธรรม เป็นการสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม อยู่ที่ 0.99 คะแนน จากเต็ม 5 ซึ่งเดิมสถิติความเชื่อมั่นอยู่ที่ 2.40 คะแนนและส่วนใหญ่ อยากให้มีการการปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม บทบาทหน้าที่ของตำรวจ รวมถึงบทบาทของอัยการ เห็นว่าควรมีบทบาทในการสอบสวนและทำสำนวนมากขึ้น และการถ่วงดุลการทำงานของตำรวจส่วนบทบาทของศาลมองว่า ควรใช้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มาให้การประกอบพิจารณาคดีควรเป็นผู้เชี่ยวชาญจากบุคคลภายนอก มากกว่าเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระบวนการยุติธรรม

นอกจากนี้ นายกิตติพงษ์ ยังระบุอีกว่า คดีนี้ประชาชนสนใจตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมมากขึ้นถึงร้อยละ 74.63 และร้อยละ 91.05 แลพเห็นว่าควรมีช่องทางให้ประชาชนติดตามขั้นตอนและผลการพิจารณาคดีต่างๆ

ขณะที่หลังจากนี้ทางสถาบันฯ จะส่งให้กับคณะกรรมการอิสระของศาสตราจารย์วิชา มหาคุณ เพื่อให้รับทราบถึงความเห็น ความรู้สึก ของประชาชนในคดีนี้ รวมทั้งความต้องการปฏิรูปกระบวนยุติธรรม

 

************************************

(ขอขอบคุณเรื่องจาก The Tempo News)