เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

เงินสมทบประกันสังคมที่มนุษย์เงินเดือนคุ้นเคยกันดี เพราะต้องจ่ายทุกเดือนๆแ จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ๆ ได้แก่

  • ค่ารักษาพยาบาล
  • ประกันว่างงาน
  • เงินชราภาพ ที่เราจะได้รับเมื่อยามเกษียณ ซึ่งมาจาก 3% ของฐานเงินเดือน

ใครมีสิทธิ์ได้รับบ้าง
ทางประกันสังคมกำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้ดังนี้

  • เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา หรือผู้ประกันตนมาตรา 39
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

ชวนมาดูวิธีการขอรับเงินเกษียณจากประกันสังคม ว่าจริงๆ แล้วมีกี่แบบ
มี 2 แบบ คือ

  • “เงินบำเหน็จ” ที่จ่ายเป็นก้อนใหญ่ครั้งเดียว
  • “เงินบำนาญ” ที่จะทยอยจ่ายเป็นรายเดือนไปตลอดชีวิต

จะได้แบบไหนนั้น ขึ้นอยู่กับ “เงื่อนไขเวลา” ที่เราส่งเงินสมทบกับกองทุน

แบบบำนาญ

  • จ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า180 เดือน (จะจ่ายติดต่อกันหรือไม่ก็ได้)
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

แบบบำเหน็จ

  • จ่ายเงินสมทบประกันสังคมไม่ครบ 180 เดือน
  • มีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ หรือเป็นผู้ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ความตาย
  • ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

ส่งเงินไป 15 ปี (180 วันแล้ว) ลาออกจากประกันสังคม มาตรา 33 มาสมัคร มาตรา 39 จะได้บำนาญไหม ?

เมื่ออายุครบ 55 ปี จะยังคงได้รับเงินบำนาญเหมือนเดิม แต่จุดสำคัญคือ ถ้าเราลาออกจากผู้ประกันตนมาตรา 33 แล้วมาสมัคร มาตรา 39 การคิดฐานเงินเดือนขั้นต่ำจะเปลี่ยนไปด้วย จากเดิม มาตรา 33 ฐานเงินเดือนขั้นต่ำสูงสุดอยู่ที่ 15,000 บาท จะเหลือเพียงเดือนละ 4,800 บาท หากเปลี่ยนมาเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 นั่นหมายความว่า เวลาคำนวณเงินชราภาพ ก็จะคิดจากฐานเงินเดือนที่น้อยลงตามไปด้วยทันที

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น
A เป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ส่งเงินมา 15 ปี แล้วลาออก ถ้าคำนวณเงินบำนาญที่จะได้รับต่อเดือน คือ 15,000 x 20% = 3,000 บาท/เดือน

แต่ถ้า A ลาออกจากมาตรา 33 (เช่น ออกจากงาน) มาสมัครเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 แล้วส่งเงินเข้าประกันสังคมต่ออีก 5 ปี รวมเป็น 20 ปี จะได้รับเงินบำนาญเพียง 4,800 x 20% = 960 บาท/เดือน เท่านั้น เพราะต้องคำนวณจากฐานเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย โดยหากเป็นมาตรา 39 สูงสุดจะอยู่ที่ 4,800 บาท

จุดนี้ … ใครจะเปลี่ยนจากผู้ประกันตน มาตรา 33 มาเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 ก็ต้องชั่งใจตรงจุดนี้ด้วยว่า จะยอมได้รับเงินบำนาญที่น้อยลง เพื่อแลกกับสิทธิ์รักษาพยาบาลต่อไหม ซึ่งถ้าใครมีบัตรทอง หรือมีประกันสุขภาพอยู่แล้ว ก็อาจจะเลือกจบที่การเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 ไปก็ได้ เพื่อจะได้รับเงินบำนาญที่มากกว่า

สำหรับใครที่ต้องการเช็กยอดเงินสะสมด้วยตัวเอง ก็สามารถตรวจสอบได้ตามช่องทางนี้

  • เข้าไปติดต่อสอบถามโดยตรงได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาที่สะดวก
  • โทร. สอบถาม สายด่วนประกันสังคม 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)
  • ตรวจสอบผ่านเว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม ได้ด้วยขั้นตอนง่าย ๆ แบบนี้ >>> เช็กสิทธิประกันสังคมของตัวเองผ่านเว็บไซต์

ข้อมูลจากสำนักงานประกันสังคม