เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

แบงก์ชาติ…!! ประกาศชะลอค่าบ้าน-รถ-บัตรเครดิต

วันที่ 26 มีนาคม 2563 มีรายงานว่า นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาเผยถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศ เนื่องจากสถานการณ์ ณ ขณะนี้ มีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้นเรื่อย และวันนี้ พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 111 ราย ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมอยู่ที่จำนวน 1,045 ราย ไปแล้ว

จากสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง ธนาคารแห่งประเทศไทย เราจึงได้ออกประกาศ ชะลอค่าบ้าน-รถ-บัตรเครดิต ให้กับลูกหนี้ เพราะเราได้ให้ความสำคัญกับการให้สถาบันการเงินดูแล และให้ความช่วยเหลือ กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ จากการระบาดของโควิด-19 โดยได้ออกเป็นแนวปฎิบัติในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งในช่วง 2 สัปดาห์แรกของเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา ก็มีลูกหนี้ได้รับความช่วยเหลือ 30,000 ราย คิดเป็นวงเงิน 234,000 ล้านบาท

ธนาคารแห่งประเทศไทย เราจึงได้หารือกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการหามาตรการออกมาช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับลูกหนี้ที่ยังไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 เป็นต้นไป

มาตรการประกอบด้วย

1. บัตรเครดิตและสินเชื่อเงินสดหมุนเวียน โดยลดอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำจาก10% เหลือ 5% ในปี 2563-2564 และในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นเป็น 8% และกลับสู่ 10% ในปี 2566 นอกจากนี้ ลูกหนี้สามารถเปลี่ยนแปลงหนี้เป็นสินเชื่อระยะยาวที่ดอกเบี้ยต่ำลงได้
2. สินเชื่อส่วนบุคคล ที่ผ่อนชำระเป็นงวดและสินเชื่อจำนำทะเบียน โดยธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จะผ่อนผันการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน และผู้ให้บริการอื่นเลือกดำเนินการระหว่างเลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน หรือ ลดค่างวดอย่างน้อย 30% ของค่างวดเดิมเป็นเวลา 6 เดือน

 

 

 

3. สินเชื่อเช่าซื้อ ประเภทรถมอเตอร์ไซต์ วงเงินไม่เกิน 350,000 บาท และรถทุกประเภท วงเงินไม่เกิน 250,000 บาท โดยผู้ให้บริการเลือกดำเนินการระหว่าง เลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน หรือพักชำระเงินต้นเป็นเวลา 6 เดือน
4. ลีสซิ่ง มูลหนี้คงเหลือไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยผู้ให้บริการเลือกดำเนินการระหว่าง เลื่อนการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน หรือ พักชำระเงินต้นเป็นเวลา 6 เดือน
5. สินเชื่อบ้าน วงเงินไม่เกิน 3 ล้านบาท
6. สินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอี ไมโครไฟแนนซ์ นาโนไฟแนนซ์ วงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท ให้พักชำระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ตามสถานการณ์ของแต่ละราย

นายวิรไท ยังกล่าวต่ออีกว่า มาตรการดังกล่าว เป็นมาตรการที่เราช่วยเหลือลูกหนี้ของสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการพักชำระเงินต้น หรือ การยืดระยะเวลาของหนี้ออกไป ซึ่งเป็นสิ่งที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง จนนำมาสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 0.75% นำไปสู่การลดดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มเติม แต่มองว่าการลดดอกเบี้ยดังกล่าว ไม่สามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนและภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 จำนวนมาก