เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

วันที่ 24 มี.ค. เวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี แถลงถึงมาตรการช่วยเหลือประชาชน ในช่วงสถานการณ์โควิดระบาด ว่าถึงวันนี้สถานการณ์ไปสู่จุดที่กระทรวงการคลัง ต้องมีมาตรการดูแลเยียวยาประชาชนเพราะมีบางส่วนเริ่มตกงาน เพื่อให้ทันการณ์ จึงมีมาตรการที่เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ดังนี้
.
กลุ่มลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม

1.เพิ่มสภาพคล่องให้เงินเดือนละ 5,000 บาท ต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน ประมาณ 3 ล้านคน ส่วนผู้อยู่ในระบบประกันสังคม จะได้ในส่วนสิทธิกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้าง กรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงินไม่เกิน 180 วัน กรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน

2.มีสินเชื่อฉุกเฉิน 10,000 บาทต่อราย วงเงินรวม 40,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกัน

3. สินเชื่อพิเศษ 50,000 บาทต่อราย วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน แต่ต้องมีหลักประกัน

4.โรงรับจำนำดอกเบี้ยต่ำ วงเงินรวม 2,000 ล้านบาท คิดดอกเบี้เย อัตราไม่เกิน 0.125% ต่อเดือน

5.ยืดการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็น ส.ค. 2563

6.เพิ่มวงเงินหักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ จาก 15,000 บาท เป็นเวลา 25,000 บาท

7.ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับค่าเสี่ยงภัยให้บุคคลากรการแพทย์

8.ฝึกอบรมมีเงินใช้ รวมทั้งนักศึกษาที่ยังหางานไม่ได้
.
ส่วนของผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโควิด-19

1.สินเชื่อรายย่อยไม่เกิน 3 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ย3% 2 ปีแรก

2.ยืดการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

3.ยืดการเสียภาษีสรรพากร เช่น VAT ภาษีธุรกิจเฉพาะ

4.ยืดการเสียภาษีสรรพสามิตให้กิจการสถานบริการ

5.ยืดภาษีสรรพสามิตให้ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์น้ำมัน

6.ยกเว้นอากรขาเข้าที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและรักษาโควิด

7. ยกเว้นภาษีและลดค่าธรรมเนียมจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ให้เจ้าหน้าหนี้ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล เช่าซื้อ ลีสซิ่ง ตั้งแต่ 1 ม.ค.63-31 ธ.ค.64 เพื่อไม่ต้องไปยึดรถ
.
นายสมคิด กล่าวด้วยว่า จะติดตามความต้องการพี่น้องตลอดเวลาและจะออกมาตรการเพิ่มเติมไม่ช้า นอกจากนี้เมื่อเข้าหน้าแล้งจะมีมาตรการช่วยภัยแล้งและกระตุ้นเศรษฐกิจตามมาอีก
.
นายลวรณ แสงสนิท โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การช่วยเหลือลูกจ้างชั่วคราว และผู้มีอาชีพอิสระ จะเปิดให้ลงทะเบียนทางเว็บไซต์ เราไม่ทิ้งกัน ตั้งแต่วันเสาร์นี้ และจะจ่ายเงินให้ผ่านทางพร้อมเพย์หรือบัญชีธนาคาร

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ และขั้นตอนในการลงทะเบียนมีรายละเอียด ดังนี้…

1. เข้าลงทะเบียนผ่านช่องทางออนไลน์ เว็บไซต์ www.เราไม่ทิ้งกัน.com คาดว่าเว็บไซต์จะแล้วเสร็จในวันที่ 28 มีนาคม นี้ หรือติดตามประกาศจากทางการในลำดับต่อไป

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่สะดวกในการลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ สามารถลงทะเบียนผ่านสาขาธนาคารของรัฐได้ คือ ธ.ออมสิน ธ.เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และธนาคารกรุงไทย

2. เตรียมหลักฐานสำหรับลงทะเบียน ได้แก่ หมายเลขบัตรประชาชน, ข้อมูลบริษัทนายจ้าง, ข้อมูลปัญหาความเดือดร้อน และข้อมูลบัญชีพร้อมเพย์ หรือบัญชีธนาคาร

3. เงินเยียวยาจะถูกโอนเข้าบัญชีธนาคาร ภายใน 5 วัน หลังการลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม การลงทะเบียนดังกล่าว จำกัดสิทธิ์เพียง 3 ล้านรายเท่านั้น โดยผู้ที่สามารถลงทะเบียนได้ ต้องเป็นลูกจ้างชั่วคราว, อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม แต่ในส่วนของผู้ที่อยู่ในประกันสังคม จะสามารถเพิ่มสิทธิกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้าง โดยกรณีนายจ้างไม่ให้ทำงาน รับเงินไม่เกิน 180 วัน และกรณีรัฐสั่งหยุด รับเงินไม่เกิน 90 วัน โดยธนาคารกรุงไทย จะเป็นผู้รับลงทะเบียนเข้าร่วมมาตรการ