เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

วันที 23 ธ.ค. แหล่งข่าวระดับสูงจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยถึงกรณีที่สมาชิกเฟซบุ๊ค Jirakit Ethisan แชร์คลิปเหตุการณ์ผู้โดยสารคนหนึ่งดึงคันโยกฉุกเฉินหยุดรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ที เพราะต้องการรอเพื่อนที่ยังไม่ได้เข้ามาในขบวนรถว่า เรื่องดังกล่าวมีการพูดถึงและมีกระแสวิพากย์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมของการกระทำอย่างแพร่หลายในโลกโซเชียล เบื้องต้น รฟม.ได้สอบถามข้อเท็จจริงไปยังเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการเดินรถของ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ซึ่งเป็นบริษัทผู้รัปสัมปทานเดินรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีของรฟม.

ซึ่งเจ้าหน้าที่ชี้แจงว่ามีผู้โดยสารคนหนึ่งดึงคันโยกหยุดรถชั่วคราว เพื่อรอกลุ่มเพื่อนที่ยังมาไม่ถึงขบวนรถ ทำให้รถขบวนดังกล่าวต้องหยุดไปนานประมาณ 5 นาที และกระทบทำให้ขบวนถัดไปออกล่าช้าประมาณ 3-4 นาที ซึ่งภายหลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ของบีอีเอ็มได้เข้าไปยังที่เกิดเหตุ เพื่อสอบถามถึงสาเหตุการการดึงคันโยกซึ่งเจ้าตัวก็ยอมรับตามตรงว่าดึงเพราะต้องการให้รถหยุดเพื่อรอให้กลุ่มเพื่อนตามมาขึ้นรถทันในขบวนเดียวกัน โดยอ้างว่าไม่ทราบว่าคันโยกดังกล่าาวนั้นอนุญาติให้ดึงได้เฉพาะกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินเท่านั้น ซึ่งเจ้าหน้าที่บีอีเอ็มเห็นว่าเป็นเหตุสุดวิสัยจึงทำการตักเตือนและปล่อยตัวไปโดยไม่มีการนำตัวมาสอบสวนหรือบันทึกถ้อยคำหรือเหตุการณ์ใดๆเลย

“กรณีนี้ถือว่าเจ้าหน้าที่บีอีเอ็มปฏิบัติไม่ครบขั้นตอนของหลักเกณฑ์การปฏิบัติ เพราะปกติหากเกิดเหตุมีคนดึงคันโยกหยุดรถโดยไม่มีเหตุจำเป็น หรือดึงเล่นๆ แล้วทำให้เกิดความเสียหายคนอื่นต้องรอ หรือทำให้ขบวนรถอื่นๆล่าช้า ตามขั้นตอนปฏิบัติที่ถูกต้อง เจ้าหน้าที่บีเอ็มจะต้องนำตัวผู้ที่ก่อเหตุออกมานอกขบวนรถ เพื่อสอบสวนหาสาเหตุ ถามชื่อ และรายละเอียดส่วนตัว พร้อมทั้งบันทึกถ้อยคำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไว้เป็นหลักฐานด้วย แต่กรณีนี้ไม่ได้ทำเลย ไม่ได้ถามชื่อด้วยว่าเป็นใครมากจากไหน แต่กลับมีการอะลุ่มอล่วยปล่อยตัวไปเฉยๆ ทำให้เราก็ไม่รู้ว่าคนที่ทำเป็นใคร ดังนั้น รฟม.กำลังจะทำหนังสือไปเตือนบีอีเอ็มให้ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัดหากเกิดเหตุขึ้นอีก พร้อมทั้งให้บีอีเอ็มทำหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวอย่างเป็นทางการมาให้ รฟม.รับทราบด้วย”

แหล่งข่าวระดับสูงจากรฟม. กล่าวต่อว่า กรณีนี้หากพิจารณาความผิดตามกฎหมายแล้วถือว่ามีความผิด ตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ว่าด้วยความปลอดภัยในชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน การรักษาความสงบเรียบร้อย ความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยในเขตระบบรถไฟฟ้า พ.ศ. 2547 ที่ออกภายใต้ พระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 ในข้อหาทำให้ระบบฉุกเฉิน ระบบเตือนภัยหรือแจ้งเหตุ หรือระบบป้องกันภัยต่างๆ ทำงานโดยไม่มีเหตุจำเป็น จนส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อผู้โดยสารคนอื่น ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1เดือน ปรับไม่เกิน 1 พันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

 

Cr. ข่าวสด