เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

โรคแปลกแต่มีจริง!! เมื่อองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศเตือน อาการหมดไฟในการทำงานเป็นโรคประเภทหนึ่งที่ต้องรับการรักษาทางการแพทย์

ทั้งนี้ WHO ได้ประกาศให้โรคเบิร์นเอ้าท์อยู่ในบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับที่ 11 หรือ International Classification of Diseases ซึ่งมีชื่อย่อว่า ICD-11 ซึ่งเป็นคู่มือทางการแพทย์ในการวินิจฉัยอาการของโรคต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาก่อนส่งผลต่อสุขภาพของคนวัยทำงานในระยะยาว โดยแพทย์ต้องประเมินวิเคราะห์อาการของผู้ป่วยร่วมกับระดับความเครียดและภาวะอารมณ์ ก่อนจะจัดให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษากลุ่มโรคอาการเบิร์นเอ้าท์ และให้จำกัดโรคเบิร์นเอ้าท์นี้ให้มีสาเหตุจากสภาพแวดล้อมในการทำงานเท่านั้น ไม่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ชีวิตด้านอื่น ๆ ได้

ในส่วนของลักษณะอาการเบิร์นเอ้าท์นั้น หลัก ๆ ก็คือจะรู้สึกเหนื่อยล้าไร้เรี่ยวแรงเกิดความรู้สึกลบ หรือขาดความกระตือรือล้นในการทำงานมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ไม่สามารถจดจ่อสมาธิต่องานได้เหมือนเคย ต้องฝืนตัวเองให้ทำงานจึงจะทำงานเสร็จได้ หรือต่อให้ทำงานสำเร็จลุล่วงก็ไม่สามารถรู้สึกดีใจพอใจได้ ขณะเดียวกัน ยังเผชิญปัญหากับภาวะอารณ์แปรปรวนอ่อนไหวง่าย นอนไม่หลับ และเริ่มมีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่าย

สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะโรคเบิร์นเอ้าท์นี้ โดยทั่วไปมักเกิดจากการสั่งสมความเครียดจากการทำงานมาเป็นระยะเวลานาน โดนกดดันอย่างไม่หยุดหย่อน งานล้นมือ องค์กรอยู่ในสภาวะพลิกผันปรับเปลี่ยนทิศทางครั้งใหญ่ หรือโดนบีบบังคับให้ต้องปรับรูปแบบการทำงานที่ขัดกับบุคลิกลักษณะนิสัย หรืองานที่ทำไม่มีการกำหนดขอบเขตภาระหน้าที่ที่ชัดเจน และสังคมในที่ทำงานต่างคนต่างอยู่ เพื่อนร่วมงานไม่มีปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

ภาวะ เบิร์นเอ้าท์ อาจมีสัญญาณบอกอาการ ดังนี้

– หมดแรง สูญสิ้นพลังงานในการทำทุกอย่าง
– ทุกอย่างที่เกี่ยวกับงานเริ่มทำให้รู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจ
– เริ่มบ่นหรือวิจารณ์งานที่ทำ
– รู้สึกท้อแท้กับงานที่ทำอยู่
– ไม่พึงพอใจในความสำเร็จที่ทำได้
– นึกถึงปัญหาเรื่องงานตลอดเวลา แม้ตอนกำลังรับประทานอาหารหรือตอนนอน
– มีปัญหาในการนอนและการรับประทานอาหาร
– เริ่มหงุดหงิดใจร้อนกับเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้า
– ชีวิตยุ่งเหยิง ขาดความสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตกับการทำงาน
– ต้องพยายามกระตุ้นให้ตัวเองมาทำงาน และมีปัญหาในการเริ่มทำงานเมื่อมาถึงที่ทำงานอีกด้วย
– พึ่งยาแอลกอฮอล์หรืออาหารอื่น ๆ เพื่อทำให้ตนรู้สึกดีขึ้น

รับมือกับปัญหา เบิร์นเอ้าท์ อย่างไรดี ?
หากพบว่าตนเองมีสัญญาณของอาการ เบิร์นเอ้าท์ อาจเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต เพื่อไม่ให้สุขภาพร่างกายและจิตใจทรุดโทรมไปมากกว่าเดิม โดยวิธีการรับมือกับปัญหา เบิร์นเอ้าท์ มีดังนี้

ดูแลสุขภาพ เมื่อทำงานหนักเกินไปหรือมีภาระงานมาก อาจทำให้ไม่มีเวลารับประทานอาหารกลางวัน ไม่ได้ออกกำลังกาย นอนน้อย หรือนอนดึก ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้สภาพร่างกายเสื่อมโทรมลงและทำให้รู้สึกหมดไฟเร็วขึ้น การดูแลสุขภาพจึงอาจช่วยให้รับมือกับปัญหา เบิร์นเอ้าท์ ได้ ซึ่งการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอประมาณ 7-9 ชั่วโมง/วัน อาจช่วยเสริมสุขภาพร่างกายและการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น และควรทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงกายหรือออกกำลังกายเป็นเวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง/สัปดาห์เป็นอย่างต่ำ เพราะอาจช่วยคลายความเครียด และช่วยให้สมองได้พักจากการคิดเรื่องงานไปสนใจสิ่งอื่นแทน

นอกจากนี้ การรับประทานอาหารครบทุกมื้ออย่างสม่ำเสมอ และเลือกรับประทานแต่สิ่งที่มีประโยชน์ โดยเน้นอาหารที่มีไขมันดีและโปรตีนอาจช่วยให้ร่างกายสงบลงได้ รวมทั้งควรหลีกเลี่ยงกาแฟและน้ำตาล เพราะอาจมีฤทธิ์เพิ่มความเครียดจนทำให้มีอาการแย่ลงได้
– ทำงานแต่พอดี
– หาทางออกเพื่อจัดการกับความเครียด

– ประเมินตนเองและงานที่ทำอยู่

อย่างไรก็ตาม แม้คำแนะนำข้างต้นอาจทำให้อาการ เบิร์นเอ้าท์ ที่เกิดจากความเหนื่อยล้าในการทำงานดีขึ้นได้ แต่หากอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า หรือสังเกตเห็นได้ว่าอาการทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาทางจิตวิทยาหรือใช้ยาตามดุลยพินิจของแพทย์ต่อไป เพราะหากไม่รีบรักษา อาการ เบิร์นเอ้าท์ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ขึ้นได้ เช่น ปัญหาเครียดสะสม ภาวะนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า โรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น