เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

หลัง นสพ. The Star ของมาเลเซีย ได้ตีข่าวเกี่ยวกับการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนในเมืองหลวงและปริมณฑลของไทยว่าไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์กับผู้มีรายได้น้อยมากนัก เพราะถึงแม้จะสร้างส่วนต่อขยายออกไปชานเมือง แต่คนที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นก็อาจจะไม่ได้ใช้อยู่ดี เพราะค่าโดยสารที่สูงสวนทางกับรายได้

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า กทม.ได้เคยวางนโยบายไว้ให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าตลอดสายไม่ควรเกิน 65 บาท เพราะหากไม่มีการจำกัดเพดานค่าโดยสารอาจสูงถึง 158 บาท

ถึงอย่างนั้น เมื่อเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำซึ่งอยู่ที่ 325 บาทต่อวัน แต่เทียบกับค่าโดยสารไป-กลับ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 130 (โดยยังไม่ได้รวมค่าโดยสารระหว่างทาง เช่น มอเตอร์ไซด์รับจ้าง หรือ ค่ารถเมล์ เพื่อนั่งไปยังสถานีรถไฟฟ้า) ก็ยังถือเป็นราคาที่ค่อนข้างแพงในสายตาของผู้มีรายได้น้อยอยู่

เมื่อเทียบค่าโดยสารรถไฟฟ้าของต่างประเทศ ข้อมูลเมื่อปี (2018)

สิงคโปร์

อย่างสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก แต่มีค่าโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินที่ถูกมาก

โดยเริ่มต้นที่ประมาณ 2-3 ดอลลาร์สิงคโปร์ขึ้นไป

ราคาถูกสุด 21 บาท

แพงสุด 50 บาท

ทั้งนี้ถ้าไปดูแผนผังของรถไฟใต้ดินนั้นยังไปได้ครอบคลุมทั่วทั้งเมืองอีกด้วย

มาเลเซีย

มาเลเซีย ก็เป็นประเทศเพื่อนบ้านเราที่มีค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกแบบไม่น่าเชื่อ โดยเริ่มที่ 1.3-8 ริงกิตมาเลเซีย

ราคาถูกสุด 10 บาท

แพงสุด 62 บาท

เมื่อเทียบกับระยะทางของรถไฟฟ้าจะถือว่าถูกมาก

และหากซื้อตั๋วรายเดือน จะได้ลดค่าโดยสารลงอีก 20%