เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

คณะแพทย์โรงพยาบาลศิริราช ผ่าตัดลำไส้ใหญ่ของผู้ป่วยรายหนึ่ง เพื่อนำพยาธิไส้เดือนออกจากลำไส้ใหญ่ คณะแพทย์พบว่าพยาธิที่อยู่ในลำไส้ใหญ่ของผู้ป่วยรายนี้ ได้กลายเป็นแบบโตเต็มวัยและมีนํ้าหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม

พยาธิไส้เดือน (Ascaris lumbricoides) มีลักษณะเป็นพยาธิตัวกลม ขนาดใหญ่ลักษณะคล้ายไส้เดือนดิน ตัวผู้โตเต็มวัยจะมีขนาดยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร ตัวเมียโตเต็มวัยจะมีขนาดยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ตัวแก่จะมีอายุประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี

พยาธิไส้เดือน เป็นปรสิต อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารของคน โดยคนเป็นตัวให้อาศัย หรือ โฮสต์ ซึ่งตัวและไข่ของมันจะปะปนออกมากับอุจจาระ

คนติดพยาธิไส้เดือนได้ โดยการรับประทานอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ หรือ ดื่มน้ำที่มีไข่พยาธิปะปนอยู่ โดยเฉพาะน้ำที่ไม่ได้ต้มสุก หรือ อาหารที่ไม่สะอาด ไข่ที่ไม่ถูกผสมจะไม่ติดต่อเพราะไม่สามารถเจริญเติบโตเป็นตัวได้ จะติดต่อเฉพาะไข่ที่ถูกผสมแล้วเท่านั้น

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ของโรคพยาธิไส้เดือนจะอยู่ในประเทศเขตร้อน พบได้ทุกเพศและทุกวัย แต่มักพบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน เพราะเป็นวัยชอบเล่นสิ่งสกปรก

ตัวแก่ของพยาธิไส้เดือน จะอยู่ในลำไส้เล็กของมนุษย์ จากนั้นจะผสมพันธุ์ออกไข่ปนออกมากับอุจจาระ โดยตัวเมีย 1 ตัวสามารถออกไข่ได้ถึง 200,000 ฟองต่อวัน ไข่จะออกมากับอุจจาระ ทำให้สามารถตรวจพบได้ในอุจจาระของผู้ป่วย ไข่ที่ผสมแล้วจะเจริญเป็นตัวอ่อนภาย ในเวลา 10-21 วัน และเป็นระยะติดต่อ ถ้าผู้ป่วยไม่ได้ถ่ายอุจจาระลงส้วม ไข่จะอยู่ในดินหรือปะ ปนอยู่ในน้ำ

ถ้ามีคนอื่นดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารที่มีไข่พยาธิที่ถูกผสมแล้วเข้าไป เปลือกไข่พยาธิจะไปแตกในลำไส้ หลังจากนั้นตัวอ่อนของพยาธิที่ออกมาจากไข่ จะไชออกจากผนังลำ ไส้ เข้าสู่กระแสเลือด เลือดจะพาตัวอ่อนไปผ่านปอด ซึ่งตัวอ่อนจะเจริญเป็นตัวแก่ในปอดโดยใช้เวลาประมาณ 10-14 วัน จากนั้นตัวพยาธิจะออกมากับเสมหะ ซึ่งจะถูกกลืนเข้าหลอดอาหารลงสู่ลำไส้ เจริญเติบโตกลายเป็นตัวแก่เต็มที่ต่อไป

– อาการของโรคพยาธิไส้เดือนเป็นอย่างไร –

1. อาการที่เกิดจากพยาธิตัวอ่อนเดินทางผ่านปอดได้แก่ ไอ แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย มีไข้คล้ายปอดอักเสบ ตรวจเสมหะอาจพบตัวอ่อนปนออกมาได้ (มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ต้องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์) บางครั้งอาจมีอาการลมพิษเกิดด้วย อาการดังกล่าว จะเกิดหลังได้รับไข่ประมาณ 4 -16 วัน บางคนอาจนานถึง 3 สัปดาห์

2. อาการที่เกิดจากพยาธิตัวแก่ในลำไส้เล็กได้แก่ อาการขาดอาหารโดยเฉพาะในเด็ก ผอมผิดปกติ ท้องใหญ่ ปวดท้องบ่อย คลื่นไส้ อาเจียน ถ้ามีพยาธิจำนวนมาก อาจจะพันกันเป็นก้อนจนเกิดลำไส้อุดตันได้ (ปวดท้องมาก และไม่ผายลม จนเป็นสาเหตุต้องไปโรงพยาบาล) บางครั้งพยาธิจะไชไปอุดท่อน้ำดี

เกิดอาการตัวเหลืองตาเหลืองหรือดีซ่านได้ บางครั้งพยาธิจะย้อนกลับมาที่หลอดอาหารและเข้าไปในหลอดลม เกิดหลอดลมอุดตันเฉียบพลันได้ และที่พบได้บ้างไม่บ่อยนัก คือ พยาธิไชทะลุผนังลำไส้ ส่งผลให้เกิดภาวะเลือดออกในลำไส้ หรือ ลำไส้ทะลุได้ (ผู้ป่วยมีอาการซีด ปวดท้องมาก และอาจมีไข้สูงจากเยื่อบุช่องท้องอักเสบ)

– ป้องกันโรคพยาธิไส้เดือนอย่างไร –

1. งดกินอาหารอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ

2. ถ่ายอุจจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะเสมอ อย่าถ่ายอุจจาระลงแม่น้ำลำคลอง อย่าถ่ายอุจจาระลงพื้นดิน

3. ล้างมือให้สะอาด ฟอกสบู่ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง เพื่อกำจัดไข่พยาธิที่อาจติด ตามมือและนิ้ว

4. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง โดยฟอกสบู่หลังจากถ่ายอุจจาระทุกครั้ง เพื่อกำจัดไข่พยาธิที่อาจติดมือไปแพร่ให้ผู้อื่นได้

5. ล้างมือเด็กบ่อยๆ เพราะเด็กชอบดูดมือและนิ้ว ถ้ามือเด็กสกปรก อาจมีไข่พยาธิเข้าปากได้

6. ดื่มน้ำต้มสุกหรือน้ำที่ผ่านการกรองอย่างถูกต้อง เพื่อกำจัดไข่พยาธิที่อาจปนเปื้อนอยู่ในน้ำได้

7. ล้างผัก ผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทานเสมอ เพราะในผักผลไม้สดอาจมีไข่พยาธิปะ ปนมาได้ เพราะสวนผัก ผลไม้บางแห่งอาจใช้อุจจาระเป็นปุ๋ย

8.สำหรับผู้ทำอาหาร หรือ เตรียมอาหารต้องล้างมือฟอกสบู่ก่อนทำอาหารทุกครั้ง เพื่อป้องกันไข่พยาธิปะปนลงไปในอาหาร

9. ถ้าเดินทางไปประเทศที่การสาธารณสุขยังไม่ดี ต้องระมัดระวังเรื่องการดื่มน้ำและอา หารเป็นพิเศษ

10. ไม่นำอุจจาระมาเป็นปุ๋ยรดผัก