เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

พระมหากษัตริย์ผู้เปิดโลกแห่งการเดินทาง
The King Who Opened World Traveling

  • •••••••

๑. พ.ศ.๒๔๑๓/ค.ศ.1871 เสด็จสิงคโปร์และชวา อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก (ที่กษัตริย์สยามเสด็จต่างประเทศที่มิใช่เพื่อการสงคราม) เป็นการเสด็จศึกษาดูงานของอาณานิคมของฝรั่ง รวม ๓๘​ วัน ระหว่างวันที่ ๙ มีนาคม ถึง ๑๕ เมษายน มีผู้ติดตาม ๒๐๘ คน ขณะพระชนมายุ ๑๘ พรรษา

๒. พ.ศ.๒๔๑๔/ค.ศ.1871–1872 เสด็จอาณานิคมอินเดียของอังกฤษอย่างเป็นทางการ เพื่อทรงศึกษา “บริติชราช” ขาไปผ่านและแวะสิงคโปร์ มะละกา ปีนัง มะละแหม่ง ย่างกุ้ง ขากลับผ่านภูเก็ต เคดะห์ หาดใหญ่ สงขลา รวม ๙๒ วัน มีผู้ติดตาม ๔๐ คน ขณะนั้นพระชนมายุ ๑๙ พรรษา

๓. พ.ศ.๒๓๓๑/ค.ศ.1888 เสด็จรัฐมลายูทางเหนือ คือ กลันตัน ตรังกานู (รวมทั้งปัตตานี) ในสมัยยังเป็นรัฐบรรณาการของสยาม ส่งบุหงามาศ “ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง”อยู่ การเสด็จครั้งนี้เว้นจากครั้งที่ ๒ ถึง ๑๖ ปี พระชนมายุ ๓๕ พรรษา

๔. พ.ศ.๒๔๓๓/ค.ศ.1890 เสด็จเยือนปักษ์ใต้แถบระนอง พังงา ภูเก็ต แล้วทางเลยข้ามไปยังลังกาวี ปีนังและเคดะห์ด้วย ระหว่างวันที่ ๑๖ เมษายนถึง ๑๕ มิถุนายน ขณะพระชนมายุ ๓๗ พรรษา

๕. พ.ศ.๒๕๓๙/ค.ศ.1896 เสด็จสิงคโปร์และชวาครั้งที่ ๒ เป็นการส่วนพระองค์ ตั้งแต่วันที่ ๙ พฤษภาคม ถึง ๒๘ สิงหาคม รวม ๓ เดือน ๑๙ วัน เสด็จเที่ยวนี้มีฝ่ายใน คือ สมเด็จพระราชินี เสด็จด้วยกล่าวว่าเป็นเสมือนการซ้อมใหญ่ ก่อนการเสด็จยุโรปในปีถัดไป ขณะพระชนมายุ ๔๓ พรรษา

๖. พ.ศ.๒๔๔๐/ค.ศ.1897 เสด็จยุโรปครั้งแรกและครั้งสำคัญอย่างเป็นทางการ ๙ เดือน ขณะพระชนมายุ ๔๔ พรรษา

๗. พ.ศ.๒๔๔๔/ค.ศ.1901 เสด็จชวาเป็นครั้งที่ ๓ เป็นการส่วนพระองค์ ๘๐ วัน ขณะพระชนมายุ ๔๘ พรรษา

๘. พ.ศ.๒๔๔๕/ค.ศ.1902 เสด็จสิงคโปร์ระยะสั้น เพื่อเจรจากับข้าหลวงใหญ่เรื่องปัญหารัฐมลายูเหนือ ขณะพระชนมายุ ๔๙​ พรรษา

๙. พ.ศ.๒๔๕๐/ค.ศ.1907 เสด็จยุโรปเป็นการส่วนพระองค์ ครั้งที่ ๒ และครั้งสุดท้าย มีพระราชนิพนธ์ “ไกลบ้าน” ระหว่างวันที่ ๒๗ มีนาคม เสด็จกลับ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๔๕๐ รวมระยะเวลา ๘ เดือน ขากลับ ผ่านตราดและจันทบุรี รับดินแดนคืนสู่ราชอาณาจักรสยาม ด้วยการแลกเปลี่ยนและสละอธิปไตยเหนือเสียมเรียบกับพระตะบองให้ฝรั่งเศสไป ขณะนั้นพระชนมายุ ๕๔ พรรษา จากนั้นอีก ๓ ปี ก็เสด็จสวรรคต

เนื่องในวันที่ ๒๓ ตุลานี้เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

Cr เวียงวังและคลังประวัติศาสตร์