เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

กทม. ประกาศค่าธรรมเนียมจอดรถยนต์ทุกประเภทฉบับใหม่ เฉพาะช่วงนอกเวลาห้ามจอด บนถนน 66 สาย ทั่วเมืองกรุง เผยแก้ค่าธรรมเนียมครั้งสุดท้าย เมื่อ 14 ปีที่แล้ว มีอัตราสูงสุดไม่เกิน 10 บาทต่อชั่วโมง ทำให้ กทม. มีรายได้แค่ปีละกว่า 15 ล้านบาท เผย “จักรยานยนตร์ ชั่วโมงแรกเก็บ 5 บาท ชั่วโมงต่อไป 10 บาท “รถเก๋ง-แท๊กซี่” ชั่วโมงแรก 10 บาท ชั่วโมงต่อไป 20 บาท สูงสุดรถสิบล้อขึ้นไป ชั่วโมงแรกเก็บ 50 บาท ชั่วโมงต่อไป 80 บาท โดยอัตราทั้งหมดเศษของชั่วโมงให้คิดเป็นหนึ่งชั่วโมง

วันนี้ 26 ก.ย.61 มีรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ ลงนามโดย พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประกาศ ณ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561 มีใจความว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงประกาศกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกาหนดที่จอดยานยนตร์ และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอานาจตามความในข้อ 5 และข้อ 11 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การจัดระเบียบการจอดยานยนตร์ พ.ศ. 2536 จึงกำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ไว้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ทั้งประกาศฉบับนี้ ให้ยกเลิกประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดที่จอดยานยนตร์และอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ ลงวันที่ 18 ม.ค.2537 ฉบับที่ 2 (19 ต.ค.37) ฉบับที่ 3 (1 มี.ค.38) ฉบับที่ 4 (27 ม.ค.47) และ ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ เขตทางถนนราชดำริ (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 27 ก.ย.2547

โดยประกาศฉบับนี้ ยังกำหนดที่จอดยานยนตร์ในช่วงนอกเวลาห้ามจอดรถในถนนสายต่าง ๆ ดังนี้ (1) ถนนทรงสวัสดิ์ ตั้งแต่แยกถนนทรงวาด ถึงแยกถนนเยาวราช (2) ถนนพาดสายตั้งแต่แยกถนนเยาวพานิช ถึงแยกถนนทรงสวัสดิ์ (3) ถนนเยาวพานิช ตั้งแต่แยกถนนทรงวาด ถึงแยกถนนพาดสาย (4) ถนนทรงวาดตั้งแต่แยกถนนราชวงศ์ ถึงแยกถนนเจริญกรุง (5) ถนนมหาจักร ตั้งแต่แยกถนนหลวง ถึงแยกถนนเจริญกรุง (6) ถนนสันติภาพ ตั้งแต่แยกถนนพลับพลาไชย ถึงแยกถนนกรุงเกษม (7) ถนนไมตรีจิตต์ ตั้งแต่แยกถนนพลับพลาไชย ถึงแยกสะพานเจริญสวัสดิ์ (8) ถนนมิตตพันธ์ ตั้งแต่แยกถนนเจริญกรุง ถึงแยกถนนกรุงเกษม (9) ถนนรอบวงเวียน 22 กรกฎาคม ฝั่งรอบนอกวงเวียน 22 กรกฎาคม

(10) ถนนลาภุญไชย ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 4 ถึงแยกถนนเยาวราช (11) ซอยธนาคารกรุงเทพอุทิศ ตั้งแต่แยกถนนเสือป่า ถึงแยกถนนพลับพลาไชย (12) ถนนยมราชสุขุม ตั้งแต่แยกถนนวรจักร ถึงแยกถนนพลับพลาไชย (13) ถนนหลวงตั้งแต่แยกถนนบริพัตร ถึงแยกถนนกรุงเกษม (14) ถนนสาลีรัฐวิภาค ตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน ถึงแยกถนนสุทธิสารวินิจฉัย (15) ถนนประดิพัทธ์ ตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน ถึงแยกถนนพระรามที่ 6 (16) ถนนรองเมือง ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 4 ถึงแยกถนนพระรามที่ 1 (17) ซอยรองเมือง 1 ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกซอยรองเมือง 5 (18) ซอยรองเมือง 2 ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกซอยรองเมือง 5 (19) ซอยรองเมือง 3 ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกซอยรองเมือง 5

(20) ซอยรองเมือง 4 ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกซอยรองเมือง 5 (21) ซอยรองเมือง 5 ตั้งแต่แยกถนนจรัสเมือง ถึงแยกถนนพระรามที่ 1 (22) ถนนจรัสเมือง ตั้งแต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกถนนบรรทัดทอง (23) ถนนเจริญเมือง แต่แยกถนนรองเมือง ถึงแยกถนนบรรทัดทอง (24) ถนนมหานคร ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 4 ถึงแยกถนนสี่พระยา (25) ถนนมหรรณพ ตั้งแต่แยกถนนดินสอ ถึงแยกถนนตะนาว (26) ถนนบริพัตร ตั้งแต่แยกถนนเยาวราช ถึงแยกถนนดารงรักษ์ (27) ถนนพาหุรัด ตั้งแต่แยกถนนบ้านหม้อ ถึงแยกถนนจักรเพชร (28) ถนนบูรพา ตั้งแต่แยกถนนเจริญกรุง ถึงแยกถนนพาหุรัด (29) ถนนพระสุเมรุ ตั้งแต่แยกถนนราชดาเนินกลาง ถึงหน้าป้อมพระสุเมรุ

(30) ถนนนครสวรรค์ ตั้งแต่แยกถนนจักรพรรดิพงษ์ ถึงแยกถนนกรุงเกษม (31) ถนนบ้านหม้อ ตั้งแต่แยกถนนพาหุรัด ถึงแยกถนนเจริญกรุง (32) ถนนวิสุทธิกษัตริย์ ตั้งแต่แยกถนนราชดาเนินนอก ถึงแยกถนนสามเสน (33) ถนนนครไชยศรี ตั้งแต่แยกถนนสวรรคโลก ถึงแยกถนนสามเสน (34) ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ตั้งแต่แยกถนนประชาราษฎร์ ถึงแยกถนนประชาราษฎร์สาย 1 (35) ถนนท่าดินแดง ตั้งแต่แยกถนนลาดหญ้า ถึงริมแม่น้าเจ้าพระยา (36) ถนนรอบตลาดใต้สะพานรัชดาภิเษก (ตลาดพลู) ตั้งแต่แยกถนนเทอดไท ถึงท่าน้าคลองบางหลวง (37) ถนนรามบุตรี ตั้งแต่แยกถนนจักรพงษ์ ถึงแยกถนนตะนาว (38) ถนนพระอาทิตย์ ตั้งแต่ทางเข้าวัดสังเวช ถึงแยกถนนเจ้าฟ้า (39) ถนนอัษฎางค์ ตั้งแต่แยกถนนราชดาเนินกลาง ถึงริมแม่น้าเจ้าพระยา

(40) ถนนมหาราช ตั้งแต่หน้าโรงเรียนราชินี ถึงแยกถนนหน้าพระลาน (41) ถนนเจริญรัถ ตั้งแต่แยกถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน ถึงแยกถนนเจริญนคร (42) ถนนบางกอกน้อย – ตลิ่งชัน ตั้งแต่แยกถนนจรัญสนิทวงศ์ ถึงสะพานข้ามคลองชักพระ(43) ถนนเจ้าสาย (กะทะ) ตั้งแต่แยกถนนมิตตพันธ์ ถึงแยกถนนกรุงเกษม (44) ถนนมังกร ตั้งแต่แยกถนนทรงวาด ถึงแยกถนนกรุงเกษม (45) ซอยพันธ์จิตต์ ตั้งแต่แยกถนนมิตตพันธ์ ถึงแยกถนนกรุงเกษม (46) ซอยนานา ตั้งแต่แยกถนนพระรามที่ 4 ถึงแยกถนนไมตรีจิตต์ (47) ถนนกรุงเกษม ตั้งแต่แยกสะพานเจริญสวัสดิ์ ถึงริมแม่น้าเจ้าพระยา (48) ถนนพลับพลาไชย ตั้งแต่แยกถนนบารุงเมือง ถึงแยกถนนเจริญกรุง (49) ถนนพรานนก ตั้งแต่แยกถนนอิสรภาพ ถึงแยกถนนจรัญสนิทวงศ์

(50) ถนนข้าวสารตั้งแต่แยกถนนจักรพงษ์ ถึงแยกถนนตะนาว (51) ถนนจักรพรรดิพงษ์ ตั้งแต่แยกถนนราชดาเนินนอก ถึงแยกถนนหลานหลวง (52) ถนนลูกหลวง ตั้งแต่แยกถนนสามเสน ถึงแยกถนนหลานหลวง (53) ถนนอานวยสงครามตั้งแต่แยกถนนสามเสน ถึงแยกถนนพิชัย (54 ถนนประชาราษฎร์สาย 1 ตั้งแต่เชิงสะพานพิบูลย์สงคราม ถึงเชิงสะพานพระรามที่ 6 (55) ถนนกรุงเทพ – นนท์ ตั้งแต่แยกถนนประชาราษฎร์สาย 2 ถึงทางรถไฟ (56) ถนนเฟื่องนคร ตั้งแต่แยกถนนเจริญกรุง ถึงแยกถนนบารุงเมือง (57) ถนนบุญศิริ ตั้งแต่แยกถนนตะนาว ถึงแยกถนนอัษฎางค์ (58) ถนนเจริญกรุง ตั้งแต่แยกถนนสนามไชย ถึงแยกถนนราชินี (59) ถนนพระพิพิธ ตั้งแต่แยกถนนสนามไชย ถึงแยกถนนราชินี

(60) ถนนสนามไชยตั้งแต่แยกถนนมหาราช ถึงแยกถนนราชดาเนินใน (61) ซอยเศรษฐการตั้งแต่แยกถนนสนามไชย ถึงแยกถนนมหาราช (62) ถนนดารงรักษ์ตั้งแต่แยกถนนบริพัตร ถึงแยกถนนกรุงเกษม(63) ซอยพหลโยธิน 7 (ซอยอารีย์)ตั้งแต่แยกถนนพหลโยธิน ถึงแยกซอยอารีย์ 5(64) ถนนอรุณอัมรินทร์ตั้งแต่แยกถนนพรานนก ถึงเชิงสะพานคลองมอญ(65) ถนนสารสินตั้งแต่แยกถนนวิทยุ ถึงแยกถนนราชดาริ และ (66) เขตทางถนนราชดาริ ตั้งแต่แยกถนนสารสิน ถึงบริเวณลานพระบรมรูปรัชกาลที่ 6

ทั้งนี้ กทม. ยังได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์ในถนนสายต่าง ๆ ทัง 66 จุด ดังนี้ 1. รถจักรยานยนตร์ ชั่วโมงแรกจัดเก็บ 5 บาท ชั่วโมงต่อไป 10 บาท 2. รถยนตร์ขนาดไม่เกิน 4 ล้อ ชั่วโมงแรกจัดเก็บ 10 บาท ชั่วโมงต่อไป 20 บาท 3. รถยนตร์ขนาด 6 ล้อ ชั่วโมงแรกจัดเก็บ 20 บาท ชั่วโมงต่อไป 30 บาท 4. รถยนตร์ขนาด 8 ล้อ ชั่วโมงแรกจัดเก็บ 30 บาท ชั่วโมงต่อไป 40 บาท 5. รถยนตร์ขนาด 10 ล้อ ชั่วโมงแรกจัดเก็บ 40 บาท ชั่วโมงต่อไป 60 บาท และ 6. รถยนตร์ขนาดเกิน 10 ล้อ ชั่วโมงแรกจัดเก็บ 50 บาท ชั่วโมงต่อไป 80 บาท โดยอัตราทั้งหมดเศษของชั่วโมงให้คิดเป็น หนึ่งชั่วโมง

ขณะเดียวกัน กทม. ได้ยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจอดยานยนตร์บริเวณเขตทางถนนราชดาริ สำหรับยานยนตร์ทุกประเภท เฉพาะช่วงเวลา 04.00 – 08.00 น. ของทุกวัน

มีรายงานว่า สำหรับ การจัดเก็บค่าธรรมเนียมการจอดยานยนต์ในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่ง กทม. ได้ดำเนินการจัดเก็บบนถนนสายต่าง ๆ ทั้งสิ้นรวม 66 สาย ตาม พ.ร.บ.จัดระเบียบการจอดยานยนต์ในเขตเทศบาลและสุขาภิบาล พ.ศ. 2503 ซึ่งการจัดเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าวถือเป็นการจัดระเบียบการจราจรริมถนนให้มีการหมุนเวียนไม่กระทบต่อปัญหาการจราจรในพื้นที่มากจนเกินไป

อย่างไรก็ตาม อัตราค่าธรรมเนียมที่ กทม. จัดเก็บถือเป็นอัตราคงเดิมมายาวนาน โดยมีอัตราสูงสุดไม่เกิน 10 บาทต่อชั่วโมง ทำให้ กทม. มีรายได้จากค่าธรรมเนียมดังกล่าวปีละกว่า 15 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นอัตราที่ไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเศรษฐกิจในปัจจุบัน ดังนั้นกระทรวงมหาดไทยจึงมีการแก้ไขกฎหมายการจอดยานยนต์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมายกับสภาพการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บการจอดรถโดยท้องถิ่นจะสามารถออกข้อบัญญัติกำหนดอัตราการจัดเก็บค่าธรรมเนียมได้เองให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และความจำเป็นของท้องถิ่นนั้น ๆ จากเดิมที่จะต้องจัดเก็บตามกฎกระทรวงในอัตราเท่ากันทุกพื้นที่

” เนื่องจากสภาพพื้นที่ในแต่ละส่วนที่กำหนดให้สามารถจอดยานยนต์ได้ก็มีความหนาแน่นการจราจรต่างกัน หาก กทม. สามารถออกกฎหมายกำหนดอัตราค่าจอดรถที่เหมาะสมได้ ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาการจอดรถในจุดที่ไม่เหมาะสมได้ โดยหากประชาชนต้องการจอดรถในถนนสายหลักพื้นที่กลางเมือง ก็อาจต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการจอดรถพื้นที่สาธารณะที่มากกว่าพื้นที่รอบนอก”

นอกจากนี้ กฎหมายนี้ยังให้อำนาจท้องถิ่นสามารถมอบหมายเอกชนเข้ามาดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมแทนได้ ซึ่งจะช่วยให้ครอบคลุมพื้นที่จัดเก็บทั่วกรุงเทพฯ มากยิ่งขึ้น แก้ปัญหาในปัจจุบันที่ กทม. ขาดแคลนเจ้าหน้าที่ในการจัดเก็บทำให้ค่าธรรมเนียมที่ได้ในแต่ละปีไม่เหมาะสมกับการจอดยานยนต์ในเขตองค์กรปกครอบส่วนท้องถิ่น.