เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

จากกรณีถ้ำหลวงที่มีน้องๆทีมหมูป่าเข้าไปติดในถ้ำ ล่าสุดสำหรับความคืบหน้า เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 11 ก.ค. “นายจงคล้าย วรพงศธร” รองอธิบดีกรมอุทยานฯ แถลงสรุปผลการปฏิบัติงานและปิดศูนย์อำนวยการร่วมฯว่า เราเป็นหน่วยสนับสนุน มีงานหลัก 3 ด้าน การหาโพรงถ้ำ ทั้งหมด 100 กว่าโพรง โดย 2 โพรงที่เราต้องฟื้นฟู นอกนั้นไม่มีปัญหา การสำรวจลำห้วยเพื่อเบี่ยงทางน้ำ ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกรมชลประทานและหน่วยงานอื่นๆ ทั้งการเบี่ยงทางน้ำ การทำฝาย หลังจากนี้ในเรื่องการฟื้นฟูนั้น รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สั่งการตนตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย. ให้เตรียมแผนฟื้นฟูให้ดี เราพยายามคิดแผน หาข้อมูล ใครไปทำโพรงไว้ตรงไหน เรามีพิกัดหมด พร้อมไปทำ ด้านข้างลำห้วยที่สร้างฝายหรือต่อท่อ เราทำได้เพื่อให้ระบบนิเวศน์กลับคืนสู่ธรรมชาติ

“ส่วนแผนฟื้นฟูใหญ่ ตั้งแต่การรักษาความปลอดภัย รมว.ทส.ประชุมที่กระทรวง ต้องบูรณาการหลายกระทรวง จะมีเรื่องการรักษาความปลอดภัย ฟื้นฟูระบบนิเวศน์บนถ้ำ หน้าถ้ำ ทำทั้งหมด มาตรการรองรับนักท่องเที่ยว นายกฯบอกแล้วว่าต่อไปที่นี่จะเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ต้องมีแผนรองรับไว้ คิดว่าไม่มีปัญหา ในวันที่ 25 ก.ค. นายกฯจะลงมาพื้นที่เพื่อคุยกับผวจ.เชียงรายว่าตรงนี้เหมาะหรือไม่ แผนระยะสั้นเริ่มทำแล้ว การเข้าออกเราจะดูแลตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะปิดทองหลังพระหรือหน้าพระ เป็นหน้าที่แต่ละคนทำไป ทุกหน่วยงานสนับสนุน เราอยากได้องค์พระที่สวยและสมบูรณ์ที่สุด ถือว่า

ส่วน “นายกอบชัย บุญอรณะ” รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวชี้แจงถึงขั้นตอนการระบายน้ำในถ้ำและพื้นที่ต่างๆ การติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เร่งพร่องน้ำเพื่อให้หน่วยซีลทำงานได้ ทั้งนี้ได้เตรียมแผนฟื้นฟูและช่วยเหลือหลังจากเจอเด็กแล้ว ทั้งการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม พื้นที่การเกษตรที่เสียหาย โดยเราได้ขอขยายวงเงินในการช่วยเหลือตรงนี้แล้ว และอีกภารกิจคือการเก็บอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งนอกถ้ำได้เก็บแล้ว ส่วนในถ้ำให้คงไว้ก่อน โดยได้ชี้แจงฝ่ายเอกชน หน่วยงานต่างๆว่าเราจำเป็นต้องคงค้างวัสดุไว้เพื่อคืนสภาพ ซึ่งภัยพิบัติครั้งนี้เราไม่ได้คาดการณ์มาก่อน ผวจ.ได้มอบให้ถอดบทเรียนระดับจังหวัด และระดับประเทศ ว่ามีมาตรการตรงไหน ระบบเตือนภัยควรมีการแก้ไขตรงไหนบ้าง โดยให้ทำเป็นแผนเผชิญเหตุ และให้จังหวัดต่างๆไปปรับเพื่อเตรียมพร้อมรับมือต่อไป

“นายสุขชัย เจรียงประเสริฐ” เกษตรจังหวัดเชียงราย ในฐานะตัวแทนกระทรวเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯให้การช่วยเหลือกู้ภัยในนา หลังจากกู้ภัยในถ้ำแล้ว มีแผนเยียวยาเบื้องต้น กรมวิชาการเกษตรช่วยเมล็ดพันธุ์พืชเสริมรายได้ในช่วงน้ำลดและเมล็ดพันธุ์ข้าว มีกข.6และข้าวหอมมะลิ กรมส่งเสริมการเกษตรจะดูแลเรื่องการป้องกันพันธุ์ข้าว มีเกษตรกรประสบภัยจากการสูบ 1,743 ไร่ กว่า 128 ราย เมื่อวันที่ 3 ก.ค.ที่ผ่านมา เราติดตั้งเครื่องสูบน้ำจากนาลงคลองสาธารณะ ภายใน 2-3 วันสูบน้ำกู้นาได้ ทั้งนี้ มีคณะกรรมการสำรวจโดยชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เกษตรตำบลตรวจแปลงที่ประสบภัยในส่วนที่จะจ่ายเงินเยียวยาตามระเบียบ

ตัวแทนกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า ตอนนี้สำรวจผู้ประสบภัยที่แท้จริง แปลงเสียหายโดยสิ้นเชิงถึงจะจ่าย 126 ราย พื้นที่ 1,266 ไร่ หลังจากนี้จะติดประกาศในชุมชน และประชุมคณะกรรมการที่มีนายอำเภอเป็นประธาน เสนอมาที่ผวจ. คาดว่าจะจ่สยเงินช่วเหลือภายในปลายเดือนก.ค.นี้ ใช้งบฉุกเฉินของผวจ. 50 ล้านบาท ทั้งหมดที่น้ำท่วมเป็นที่นาทั้งหมด เราจะช่วยเหลือในเบื้องต้นและจ่ายเงินชดเชยเป็นอีกล็อตหนึ่ง