เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

“นายสมเกียรติ ประจำวงษ์” เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า ปีงบประมาณ 2562 มีการบูรณาการงบประมาณน้ำวงเงินประมาณ 63,000 ล้านบาท หรือสัดส่วนประมาณ 60% ของงบประมาณน้ำทั่วประเทศ ส่วนอีก 40% งบประมาณจะอยู่ในงบจังหวัด ซึ่งรัฐบาลสั่งการให้ สทนช. ตรวจสอบโครงการทั้งหมด เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ให้เสร็จภายในเดือนก.ย.นี้ รวมถึงเพื่อไม่ให้โครงการมีความซ้ำซ้อนและมีปัญหากับการคืนงบประมาณ โดยหลังตรวจสอบจะนำเสนอคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ (กนช.) ที่มี “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

ล่าสุดพบโครงการไทยนิยมยั่งยืน มีโครงการที่ซ้ำซ้อนกันระหว่าง โครงการท้องถิ่นกับ กรมชลประทาน กรมชลประทานจึงต้องคืนเงินงบประมาณ

ดังนั้น สทนช. ในฐานะหน่วยงานที่ต้องบูรณาการการทำงานของหน่วยงานน้ำของประเทศ จะร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานน้ำทั่วประเทศ ดำเนินการปรับโครงสร้างการใช้น้ำท่วมประเทศ และลดความซ้ำซ้อนของโครงการ รวมถึงรองรับการเปลี่ยนแปลงจากการปฏิรูปประเทศและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย กำลังเปลี่ยนแปลง อาทิ ภาคอุตสาหกรรมและภาคท่องเที่ยว ที่กำลังมีบทบาทอย่างมากสำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

เมื่อรัฐบาลมีการปฏิรูปประเทศ โครงสร้างบริหารจัดการน้ำแบบเดิม ที่กรมชลประทาน และหน่วยงานน้ำบริหารจัดการไว้ คงใช้ไม่ได้ สัดส่วนการจัดการน้ำเพื่อ อุปโภคบริโภค ต้องเปลี่ยนแปลงไปประจำนวนประชากรแผงมีเพิ่มขึ้น อาทิ จำนวนนักท่องเที่ยว ที่เพิ่มขึ้นมากต่อเนื่องทุกปี โดยเป้าหมายปีนี้นักท่องเที่ยว คาดมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดืนทางเช้าไทยเกือบ 38 ล้านคน ยังไม่รวมแรงงานในสาขาต่างๆ ที่เข้ามาจำนวนมาก ประชากรเหล่านี้ต้องมีการสำรองน้ำ เพื่อรองรับการบริโภคมากขึ้น

“สทนช. ได้หารือกับการประปาส่วนภูมิภาค พบว่า กรมชลประทาน การประปา มีฐานข้อมูลการใช้น้ำ ปริมาณน้ำ แหล่งสำรองน้ำไม่ตรงกัน ดังนั้น หน่วยงานน้ำทั้งหมดต้องสำรวจ ข้อมูลพื้นฐาน โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง เพื่อร่วมกำหนดควาทต้องการใช้น้ำ ในแต่ละพื้นที่ ไม่ให้เกิดปัญหา น้ำท่วม น้ำแล้ง หรือน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคไม่เพียงพอ ในพื้นที่อุตสาหกรรม อย่างอีอีซี แหล่งท่องเที่ยว อย่างเช่น เกาะช้าง เกาะพพงัน ที่มีปัญหานักท่องเที่ยว มีความจืดไม่พอใช้”

“นายสมเกียรติ” กล่าวว่า สำหรับงบประมาณปี 2562 คาดว่าอย่างน้อยจะมีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่คาดจะเกิดในภาคอีสาน ประมาณ 50,000 ล้านบาท เบื้องต้นคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติ มีเงินก่อสร้างโครงการแล้ว 21,000 ล้านบาท ส่วนอีกหลายโครงการ อาทิ โครงการระบบป้องกันอุทกภัย จ.ชัยภูมิ คาดว่าต้องใช้งบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท ในส่วนนี้ยังไม่มีงบประมาณ จึงต้องเสนอขอและก่อสร้างในปีงบประมาณ 2562