เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

หลังจากที่อดีตพิธีกรข่าวชื่อดัง สรยุทธ สุทัศนะจินดา ได้เข้าพิธีบวชอย่างเรียบง่ายที่วัดหนองกะทุ่ม ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา และได้รับฉายาทางธรรมว่า วชิรมโน แปลว่า ผู้มีใจดุจเพชร แต่กลับมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า เหตุใดพระสรยุทธถึงบวชได้ทั้งที่ต้องคดีอาญาอยู่ ซึ่งเรื่องนี้ทำให้ พระครูอนุรักษ์ สันติธรรม หรือหลวงพ่อใหญ่ วัดหนองกระทุ่ม พระผู้อุปัชฌาย์ บวชให้แก่พระสรยุทธ มีความเครียดจนต้องหามส่งโรงพยาบาลด่วน กรณีบวชให้ผู้ต้องหาคดีติดตัว โดยเจ้าคณะอำเภอปากช่อง ระบุว่า จะมีการติดต่อพระสรยุทธ มาพูดคุยเรื่องการสึก

โดยล่าสุด พระมหาไพรวัลย์ วรวณฺโณ ได้โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊ก ในหัวข้อ #ทำไมพระสรยุทธจะบวชไม่ได้ ในข้อความมีระบุว่า กรณีพระสรยุทธนี่ ในทางพระวินัย ควรจะต้องตีความนะ  และเรื่องการต้องคดีอาญานั้น การตัดสินโทษแบบรัฐในยุคพุทธกาล กับรัฐในยุคสมัยใหม่ก็ไม่เหมือนกัน เช่นในยุคโบราณ เมื่อต้องคดีแล้ว พระราชาหรือมหาอำมาตย์วินิจฉัยคดี ก็ต้องรับโทษตามนั้นทันที ไม่มีอุทธรณ์ ไม่มีฎีกา แต่ยุคปัจจุบันไม่เป็นเช่นนั้น ผู้ต้องหาสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อสู้คดีได้ 

ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ประกันตัว ระหว่างการต่อสู้คดี โดยยื่นเงื่อนไขให้ ถ้าศาลไม่ได้บอกว่า ในระหว่างที่ให้ประกันตัว ห้ามอุปสมบท  ผู้ต้องหาควรได้รับสิทธิ์ในการที่จะบวช ตามระยะเวลาที่ศาลอนุญาตการประกันตัวหรือไม่ เรื่องค่อนข้างละเอียด และต่างจากกรณีของผู้ที่หลบหนีคดี ซึ่งอย่างหลังนี้ หากพบว่าหนีมาบวช เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการสึกได้ทันที 

แต่กรณีของพระสรยุทธ ไม่ใช่แบบนั้น เมื่อให้บวชแล้ว ในบางกรณี พระพุทธเจ้าปรับโทษแค่ทุกกฎสำหรับพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวด ไม่ปรับโทษผู้บวช  หมายถึงว่า ถ้าให้บวชแล้วก็บวชไป ไปจับเขาสึกไม่ได้ (เป็นการการทำไม่ดี (ทุกกฎของคนที่บวชให้เท่านั้น) เรื่องนี้ ต้องพิจารณาให้ละเอียด และกรณีแบบนี้ ก็ไม่ใช่มีแค่พระสรยุทธ ก่อนหน้านี้ก็มีนักการเมืองคนหนึ่งที่อุปสมบทระหว่างที่ยังต้องคดีอยู่เหมือนกัน นักแสดงหรือดาราบางคนก็ด้วย

ประเด็นสำคัญที่สุด เราควรจะต้องมองถึงที่มาของข้อห้ามในทางพระวินัยเกี่ยวกับเรื่องที่ทรงห้ามคนที่มีคดีบวช ว่าทรงหมายถึงกรณีแบบไหนบ้างอย่างไร  เช่นอย่างที่ตรัสถึง ผู้ต้องหาหนีจากเรือนจำ คนมีหมายจับ เป็นต้น แล้วนำมาพิจารณาเปรียบเทียบกับคนที่ศาลอนุญาตให้ประกันตัว จึงจะเห็นชัดว่า เข้าข่ายการเป็นบุคคลต้องห้ามตามพระวินัยหรือไม่