เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

17/10/64 บุคคลในแวดวงดนตรีพากันแสดงความไว้อาลัยต่อการจากไปของ ครูดนตรีผู้ปฏิวัติดนตรีไทยร่วมสมัย บรู๊ซ แกสตัน รายละเอียดการเสียชีวิตเนื่องด้วยมะเร็งตับคร่าชีวิต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักแสดงใจบุญ ‘ต่าย สายธาร’ ตรวจเจอเนื้องอกในมดลูก หลังเพิ่งสูญเสียคุณแม่

สุดอาลัยศิลปินดังยุค 80 “อ๊อด คีรีบูน” เสียชีวิต!

บรูซ เกิดเมื่อปี 2490 เป็นนักดนตรีชาวอเมริกัน ที่จบการศึกษาด้านทฤษฎีดนตรี การประพันธ์เพลงและปรัชญา และมีความสามารถในการเล่นเครื่องดนตรีตะวันตกหลากหลายชนิด

บุคคลสำคัญของวงการดนตรีไทยท่านนี้ ย้ายมาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่อายุ 22 ปี ผลงานเด่นๆ ที่ควรกล่าวถึงมีมากมาย อาทิ

พ.ศ. 2525

ประพันธ์เพลง “เจ้าพระยาคอนแชร์โต” ร่วมฉลองกรุงเทพมหานครอายุครบ 200 ปี บทเพลงนี้ได้นำเสนอมิติของดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีไทย ดนตรีไฟฟ้า ที่จัดวางเสียง จังหวะ ในพื้นที่และเวลาที่แตกต่างกัน รวมทั้งการประยุกต์พุทธปรัชญาเข้ามาเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์งานซึ่งยังปรากฏต่อเนื่องในผลงานชิ้นอื่นๆ อาทิ มรรคแปด อริยสัจสี่

เพลงอาหนู สำหรับ Prepared Piano ระนาดทุ้ม และดนตรีไฟฟ้า แสดงในงานรำลึกจอห์น เคจ ณ มหานครนิวยอร์ค

พ.ศ. 2530

นำวงดนตรีฟองน้ำ ร่วมเทศกาลมหกรรมดนตรีราชสำนัก ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นการเดินทางครั้งสำคัญของครูดนตรีอาวุโสของวงการดนตรีไทยไปร่วมกันนำเสนอบทบาทหน้าที่ของดนตรีไทยในระบบบอุปถัมภ์ของราชสำนักซึ่งมีผลอย่างยิ่งต่อการพัฒนาดนตรีไทยในรอบหลายร้อยปีที่ผ่านมา

พ.ศ. 2530

ประพันธ์เพลง “Thailand the golden Paradise” เพื่อเฉลิมฉลองปีท่องเที่ยวไทย และถือเป็นเพลงหลักในการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยทั่วโลกนับแต่นั้นมา

พ.ศ. 2552-2554

สร้างโอเปรา “A Boy and A Tiger” ทำการสอนดนตรี ประพันธ์เพลง กำกับการแสดง ให้กัลกลุ่มเยาวชนบ้านเกดาร์ ซึ่งเป็นผลงานการทลายกำแพงอคติต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องที่บรูซ แกสตัน ทุ่มเทพลังในการสร้างสรรค์มากที่สุดชิ้นหนึ่ง