เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

“ประวิตร” นำประชุมสรุปผลและถอดบทเรียนแก้ปัญหาไฟป่า มลพิษ ฝุ่นละออง สรุปสถานการณ์ปีนี้แก้ปัญหาดี ขอบคุณทุกภาคส่วนร่วมมือ ปี 65 ต้องดีขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 20%

จากนั้น พล.อ.ประวิตร ขอบคุณทุกผู้แทนจากทุกหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองเป็นอย่างดี ทำให้จุดความร้อนและฝุ่นละอองในปีที่ผ่านมาลดลง ซึ่งปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง เป็นปัญหาที่รัฐบาลให้ความสำคัญเนื่องจากส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ให้ทุกหน่วยงานบูรณาการทุ่มเทสรรพกำลัง องค์ความรู้และทรัพยากร เพื่อควบคุมแหล่งกำเนิดและปริมาณฝุ่นละอองไม่ให้สูงเกินเกณฑ์มาตรฐาน และปฏิบัติงานป้องกันแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง บนหลักการ “ขยายผล พัฒนา ขจัดปัญหา” กำหนดเป้าหมายการป้องกันและแก้ไขปัญหา ไฟป่าหมอกควันและฝุ่นละอองในปี 2565 ต้องดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาไม่น้อยกว่าร้อยละ 20

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

  • ปัญหาไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือยังคงวิกฤต ดอยหลวงเชียงดาวยังเป็นทะเลเพลิง

  • ไฟป่าโหมไหม้! ป่าสงวนแห่งชาติดงระแนง เสียหายกว่า 500 ไร่

    พล.อ.ประวิตร ยังสั่งการให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” และแผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง 12 ข้อ อย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง ให้มีการบัญชาการและสั่งการผ่านคณะอนุกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการสาธารณภัยของประเทศ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดยกระดับ Single Command ในการติดตามสถานการณ์และบูรณาการสั่งการป้องกันและแก้ไขปัญหาในจังหวัดอย่างเคร่งครัด โดยสั่งการไปถึงระดับตำบล อำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และให้ลงพื้นที่ดูแลอย่างใกล้ชิด ส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน

พร้อมกันนี้ ให้วางแผนจัดกำลังพล อุปกรณ์เครื่องมือและงบประมาณให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครต้องได้รับการคุ้มครองความปลอดภัยในระดับสูงสุด ขยายผลการบริหารจัดการเชื้อเพลิงแบบครบวงจร ทั้งการนำเชื้อเพลิงในพื้นที่ป่ามาใช้ประโยชน์ เพื่อลดการเผาในที่โล่ง และการประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันบริหารจัดการการเผา ขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนตามกลไกอาเซียน ประชาสัมพันธ์เชิงรุกสร้างการรับรู้กับประชาชน และเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุข เพื่อให้ผลการดำเนินงานมีความสำเร็จ ลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนให้มากที่สุด.