เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

สืบเนื่องจากการที่เจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายรณรงค์เชิงนโยบาย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ในฐานะนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ได้รับหมายเรียกให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาว่า ร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและ พ.ร.บ.จราจรทางบก จากการไปร่วมเป็นวิทยากรในกิจกรรม ‘คืน-ยุติธรรม’ เพื่อรำลึกถึงผู้ถูกบังคับให้สูญหาย เนื่องในวาระครบ 1 ปี 1 เดือนการหายตัวไปของวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ และร่วมเสวนากับญาติและบุคคลใกล้ชิดกับผู้ที่ถูกบังคับให้สูญหาย เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 64 บริเวณข้างทำเนียบรัฐบาล ซึ่งจัดโดยกลุ่มโมกหลวงริมน้ำ

นางปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย กล่าวว่า การดำเนินคดีต่อนักปกป้องสิทธิมนุษยชนจากการรายงานและกล่าวถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องที่น่าตกใจ และการกระทำของรัฐในวันนี้แสดงให้เห็นถึงความกลัวของรัฐที่ไม่ยอมรับฟังข้อเรียกร้องของประชาชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เคลื่อนไหวอีกครั้ง ! สรุปดราม่าเดือดภาค 2 ชาวเน็ตแห่คอมเมนต์สนั่นโพสต์ล่าสุด

สื่อลาวยัน!! คนไทยเก็บเห็ดล้ำแดน ไม่ได้ฉีดวัคซีนให้แต่อย่างใด?

พิธาซัดแรง ! ล็อกดาวน์สูญเปล่า ประยุทธ์ ออกเท่านั้นจึงจบวิฤกตินี้ได้

ในทางกลับกัน รัฐกลับมุ่งแสวงหาช่องทางทั้งในทางกฎหมายและวิธีการอื่นๆ เพื่อกีดกั้น จำกัดสิทธิและสร้างความหวาดกลัวแก่คนที่ออกมาเคลื่อนไหว ให้อยู่ในความเงียบและยุติการทำงานในที่สุด

หากแต่ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนไม่ใช่เป็นประเด็นเฉพาะกลุ่ม แต่เป็นการขับเคลื่อนของคนทั่วโลกที่เห็นถึงความสำคัญของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และความเท่าเทียมกันของคนในสังคม การกดขี่ของรัฐที่กระทำต่อกลุ่มคนชายขอบหรือกลุ่มเปราะบางกลายเป็นประเด็นระดับโลกที่ทั้งประชาชนและรัฐต่างให้ความสำคัญ ในประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามหลักการ อีกทั้งยังปฏิบัติตรงกันข้ามจะกลายเป็นรัฐส่วนน้อยที่กำลังจะหายไปจากความชื่นชมของคนในสังคมและประชาคมโลก

“แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐยุติการใช้กฎหมายปิดปากนักปกป้องสิทธิมนุษยชน เพียงเพราะการทำงานของพวกเขาในการสร้างความรู้ ความเข้าใจในประเด็นสิทธิมนุษยชน อีกทั้งเรายังเรียกร้องให้รัฐสนับสนุนและส่งเสริมการทำงานในประเด็นสิทธิมนุษยชนแก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้เสียหาย นักกิจกรรม รวมทั้งนักปกป้องสิทธิมนุษยชนด้วย”