เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

จากกรณีเจ้าหน้าที่กรมการแพทย์จับทุจริตผู้ที่เข้ามารับบริการฉีดวัคซีนที่สถานีกลางบางซื่อ เขตจตุจักร กทม. หลังพบว่ามีการกรอกข้อมูลผ่านเครือข่าย บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมลงทะเบียนบุคคลให้เข้ามารับวัคซีน นำโควตาไปขายสิทธิ์ ทำมาแล้ว 3 วัน วันละ 1,500 คน เจ้าหน้าที่สอบถามผู้ที่ซื้อสิทธิ์ที่มาฉีดวัคซีน สารภาพว่ามีการจ่ายค่าหัวถึงหัวละ 500-1,000 บาท ตามที่เสนอข่าวไปนั้น

ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 30 ก.ค. พล.ต.ต.อำนาจ ไตรพจน์ ผบก.รฟ.
กล่าวว่า กรณีนี้ทางพล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. ได้สั่งการให้กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ดำเนินการสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดโดยเร็ว เนื่องจากเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน มีการทำกันเป็นกระบวนการ จึงจำเป็นต้องให้เจ้าหน้าที่เฉพาะด้านเข้ามาร่วมสืบสวนสอบสวน โดยพล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบช.ก.ตั้งคณะทำงานขึ้นมา มีตำรวจรถไฟ บก.ปอท.และกองปราบปราม บูรณาการกำลังร่วมสืบสวนสอบสวน ทั้งนี้นอกจากเสนอเรื่องให้บช.ก.แล้ว ยังได้รายงานให้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รองผบ.ตร. ทราบด้วย

โดยหลังเกิดเรื่องได้สอบปากคำผู้เกี่ยวข้องแล้วกว่า 20 ปาก ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่กรมการแพทย์ พนักงานบริษัทเครือข่ายโทรศัพท์ และผู้ที่สวมสิทธิ์ในการฉีดวัคซีน โดยเป็นการสอบปากคำเบื้องต้น รวมทั้งจะเรียกผู้เกี่ยวข้องมาสอบเพิ่มเติมอีก ยังไม่ได้มีการแจ้งข้อหาดำเนินคดีกับใคร รวมทั้งยังไม่สามารถตอบได้ว่ากลุ่มผู้ต้องหาขบวนการนี้มีกี่คน ซึ่งเบื้องต้นได้ตีกรอบผู้กระทำความผิดว่าอาจเป็นบุคลากรภายในและภายนอก ที่ทำการกรอกข้อมูลสวมสิทธิ์วัคซีน ทั้งนี้ บก.ปอท.จะทำการตรวจสอบพิสูจน์ทางเทคนิคเพื่อไขความกระจ่าง

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบพบว่ามีการลักลอบคีย์ข้อมูลนอกเวลาทำการ หลัง 18.00 น. โดยพบว่ามีการกรอกข้อมูลในห้วงเวลา 20.00-22.00 น. ในส่วนของยอดผู้สวมสิทธิ์เบื้องต้นพบว่าอาจมีมากกว่า 5000-6,000 ราย ซึ่งในส่วนนี้อาจเกิดความเสียหายหลายล้านบาท ซึ่งพล.ต.ท.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบช.ก. ได้เน้นย้ำสั่งการให้คลี่คลายข้อเท็จจริงโดยเร็ว

“กรณีที่เกิดขึ้น พบว่ามีการกระทำในลักษณะกรอกข้อมูลสวมสิทธิ์ฉีดวัคซีน จนนำมาสู่การขายสิทธิ์กันในราคา 500-1,000 บาทต่อราย ซึ่งเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ในสถานการณ์เช่นนี้ เพราะประชาชนทุกคนควรมีสิทธิ์และเข้าถึงการฉีดวัคซีนอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ หลังเกิดเรื่องได้มีการเรียกผู้ให้บริการทั้งสามเครือข่ายมาประชุมร่วมกัน เพื่อหาแนวทางในการป้องกันเฝ้าระวังไม่ให้เกิดเหตุในลักษณะนี้อีก”

รายงานข่าวแจ้งว่า เจ้าหน้าที่พบความผิดปกติในระยะที่เริ่มปรับให้มีการวอล์กอิน ลงทะเบียนหน้าศูนย์ฉีดวัคซีนบางซื่อ เจ้าหน้าที่ปิดรับการลงทะเบียนจากหน่วยงาน เหลือแค่กระทรวงการต่างประเทศ โดยเหลือเพียงหน่วยงานเดียวเปิดให้ฉีดได้วันละ 300 คน ประกอบกับหลังช่วงที่มีการปรับระบบให้วอล์กอินลงทะเบียนหน้าศูนย์ และเปิดยูสเซอร์ให้อาสาสมัครมาช่วยลงทะเบียน แต่กลับพบว่าตัวเลขการนัดฉีด เพิ่มขึ้นจากเดิม 10-20 คน ต่อวัน จนกระทั่งช่วงวันที่ 28 ก.ค.ที่ผ่านมาปรากฏว่ามีคนจำนวนมากยืนรอกันที่บริเวณประตู 4 และพบตัวเลขผู้ลงทะเบียนมา 2,000 คน ทั้งที่ตัวเลขนัดหมายมีฉีดวัคซีนของกระทรวงการต่างประเทศแค่ 384 คน เท่านั้น เมื่อเจ้าหน้าที่เห็น ตัดสินใจไม่ยกเลิกการฉีดวัคซีน ปล่อยให้ทั้ง 2,000 คน เดินทางมาตามนัดหมาย ก่อนทำการคัดกรองบุคคลทำให้ทราบว่า มีการเรียกเก็บค่าหัวคิวซื้อโควตาฉีดวัคซีน หัวละ 400-1,200 บาท รวมเป็นเงิน 120,000-360,000 บาท อย่างไรก็ตาม ได้สอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องทราบว่ามีอาสาสมัครทำหน้าที่ลงทะเบียนคนฉีดวัคซีนที่ศูนย์ฉีดวัคซีนบางซื่อ 19 คน ซึ่งเป็นคนดูแล 19 ยูสเซอร์ โดยสามารถระบุได้แน่ชัดว่าอาสาสมัครกลุ่มดังกล่าวมาจากการที่ผู้ให้บริการเครือข่ายทรูได้จ้างบริษัทย่อยมาช่วยจัดคิวลงทะเบียน ทำให้พบปัญหาเพียงค่ายเดียว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบหากพบว่า 19 คนนี้มีส่วนเกี่ยวข้องก็จะเข้าข่ายมีความผิดด้วย

ลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด ที่ ศูนย์ฉีดวัคซีนบางซื่อ อายุ 18 ปีขึ้นไป