เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ประเด็นดราม่า…!! ตำรวจล่อซื้อน้ำส้ม อยากรู้คนขายทำไมถึงผิด

ผู้ประกอบการผลิตเครื่องดื่มน้ำผลไม้บรรจุขวดพร้อมจำหน่าย ต้องขออนุญาตกับ อย.ให้ถูกต้องและตั้งแต่ 24 กรกฎาคม 2544 ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ GMP ทันที พร้อมเตือนเรื่องความสะอาด หากพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษปนเปื้อน ผู้ผลิตต้องรับโทษตามกฎหมาย
การผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(ผู้บริโภคอาจจะฟ้องสินค้าไม่ปลอดภัยได้อีก ซึ่งผู้ผลิต ผู้ขายก็ต้องรับผิด)
ปัจจุบันมีผู้ผลิตเครื่องดื่มน้ำผลไม้เป็นจำนวนมาก เช่น น้ำส้มคั้น น้ำเฉาก้วย น้ำเสารส น้ำแครอท เป็นต้นโดยทำเป็นกิจการในครัวเรือนที่ไม่เข้าข่ายโรงงาน และมักบรรจุในขวดพลาสติก หรือขวดแก้ววางขายตามตู้แช่ร้านค้าทุกระดับ ตั้งแต่ร้านขายของชำจนถึงซูเปอร์มาเก็ต ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มักได้รับร้องเรียนถึงความไม่สะอาดของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอยู่เนืองๆ จึงออกตรวจสอบเพื่อเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประเภทดังกล่าวส่งตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบว่ามีบางตัวอย่างไม่ผ่านมาตรฐานตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนด เช่นพบยีสต์ เชื้ออีโคไล ซึ่งตามกฎหมายต้องไม่พบ หรือพบเชื้อโรคอาหารเป็นพิษ เป็นต้น ซึ่ง อย. ขอแจ้งให้ผู้ผลิตทราบว่าตามกฎหมายแล้ว
เครื่องดื่มดังกล่าว จัดเป็นเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิท และเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ ต้องมีคุณภาพมาตรฐานตามี่กฎหมายกำหนด รวมทั้งสถานที่ผลิต ภาชนะบรรจุ และการแสดงฉลาก ต้องอยู่ในความกำกับดูแลของ อย. โดยเฉพาะในส่วนของสถานที่ผลิตนั้น ตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นไป ผู้ประกอบการรายใหม่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ GMP ทันที ในการผลิตน้ำผลไม้ ควรผลิตวันต่อวัน อย่านำน้ำผลไม้สดค้างวันมาจำหน่าย เพราะอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนในอาหาร หาก อย. ตรวจพบว่ามีเชื้อโรคอาหารเป็นพิษปนเปื้อนจะถูกดำเนินคดีอย่างเข้มงวด เพราะถือเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งที่ผ่านมา อย. ได้ลงโทษทางกฎหมายอย่างจริงจัง กับผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนกฎหมายหลายรายแล้ว และจะทำการตรวจสอบผู้ที่กระทำผิดต่อไป

ข่าวอื่นที่น่าสนใจ

 

ผู้ทรงคุณวุฒิฯ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของผู้บริโภค ขอให้เลือกซื้อเครื่องดื่มดังกล่าวอย่างระมัดระวังต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตมาใหม่ๆ ภาชนะบรรจุต้องสะอาด ไม่มีคราบสกปรก รวมทั้งขอให้สังเกตรายละเอียดบนฉลากอย่างน้อยต้องมีข้อความภาษาไทย เช่น ชื่ออาหาร ชื่อที่ตั้งผู้ผลิต ส่วนประกอบ ปริมาตรสุทธิ วันเดือนปีที่ผลิตหรือวันเดือนปีที่หมดอายุ อย่างไรก็ตาม หากผู้บริโภคพบเห็นการผลิตขายเครื่องดื่มน้ำผลไม้ที่น่าสงสัยจะไม่มีคุณภาพมาตรฐานหรือไม่ผ่านการพิจารณาอนุญาตจาก อย. ขอให้แจ้งร้องเรียนมาได้ สำหรับในส่วนภูมิภาคแจ้งได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนั้นๆ