เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

แนวโน้ม “วิกฤติขาดแคลนอาจารย์ใหญ่” เริ่มทวีความรุนแรงต่อเนื่อง ส่งผลซ้ำเติม “วงการศึกษาวิชาแพทย์ไทย” ต้องระส่ำระสายหวั่นกระทบต่อคุณภาพการเรียนการสอนนิสิตแพทย์จบใหม่ กลายเป็นปัญหาขาดแคลนมีผลให้ “แพทย์ใหม่” ฝึกฝนน้อยลงตามมา

ผศ.นพ.ธนศิลป์ หวลมานพ หน.หน่วยมหกายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า แต่ละปีมีผู้แสดงจำนงอุทิศร่างกายราว 1-2 หมื่นรายต่อปี แต่มี “ผู้เสียชีวิต” ที่ญาติแจ้งให้รับร่างกายเป็น “อาจารย์ใหญ่ 300 ร่าง” เท่านั้น ในจำนวนนี้ต้องตรวจสอบคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ต่างๆ

ตั้งแต่อวัยวะร่างกายต้องครบถ้วน ไม่เสียชีวิตโรคร้ายแรง เช่น เชื้อโควิด-19 เอชไอวี ไวรัสตับอักเสบ วัณโรค พิษสุนัขบ้า ไม่ตายผิดธรรมชาติที่ต้องผ่าพิสูจน์ ไม่ถูกฝังแร่รังสีใน 6 เดือน เหตุนี้ทำให้ “จำนวนร่างผู้อุทิศอาจารย์ใหญ่” ที่รับเข้ามาลดน้อยลง เหลือไม่ถึง 300 ร่างต่อปีด้วยซ้ำ

 

ขั้นตอนต่อไปต้องนำไปฉีดน้ำยารักษาศพเข้าทางเส้นเลือดแล้วนำไปแช่น้ำยา 1 ปี จึงนำขึ้นมาให้นิสิต และแพทย์ใหม่ฝึกฝนเรียนรู้ 1 ปี ที่ต้องใช้น้ำยาพรมให้ชุ่มชื้นตลอด เพื่อไม่ให้ร่างแห้ง หรือเกิดราตามมา

ต้องเข้าใจว่า…“ร่างอาจารย์ใหญ่” เอื้อคุณประโยชน์ให้ “วงการแพทย์” ในการศึกษาหาความรู้ระบบร่างกายได้อย่างมากมาย เพื่อช่วยผู้ป่วยต่อไปในอนาคต แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก…“นิสิตแพทย์” ในการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ของนักศึกษาชั้นปี 2 จำนวน 6 คน ต่อร่างอาจารย์ใหญ่

ในการศึกษาโครงสร้างร่างกาย และอวัยวะของมนุษย์อย่างแท้จริง ทั้ง 2 เพศ เพื่อดูความแตกต่าง ตั้งแต่กล้ามเนื้อ กระดูก และอวัยวะสำคัญ ที่ต้องใช้อาจารย์ใหญ่เฉลี่ย 50 ร่างต่อปี สามารถทำการศึกษาได้ 1 ปี

กลุ่มที่สอง…“ศูนย์ฝึกผ่าตัด จุฬาฯ” ที่มีความทันสมัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มักมีกลุ่มแพทย์สาขาต่างๆ ทั้ง “หมอไทย และหมอต่างชาติ” เข้ามาศึกษาฝึกฝนความเชี่ยวชาญแลกเปลี่ยนความรู้ เทคโนโลยี ในการพัฒนาศักยภาพการผ่าตัดเฉพาะทาง ลักษณะเป็นความร่วมมือเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์มาตลอดหลายปี

ส่วนใหญ่แล้ว “ใช้ร่างแบบนุ่มเฉลี่ย 200–250 ร่างต่อปี” ในการศึกษาเป็นแบบสัดส่วน เช่น หมอศัลยกรรมกระดูกเข้ามาทำเกี่ยวกับข้อเข่าเสร็จแล้วก็นำเก็บให้หมอคนอื่นศึกษาต่ออีก ในหนึ่งร่างใช้ศึกษาได้ 1 ปีเช่นกัน ทำให้จำนวนร่างอาจารย์ใหญ่ได้รับบริจาคในแต่ละปีไม่เพียงพอจำต้องขอรับบริจาคอยู่อีกมากมายเสมอ

โดยเฉพาะ “ในช่วงโควิด–19” เจ้าหน้าที่ทำงานรับ “ร่างผู้แสดงความจำนง” ค่อนข้างลำบาก ทั้งต้องรอผลตรวจหาการติดเชื้อไวรัสนี้ด้วย ทำให้ไม่สามารถนำร่างอาจารย์ใหญ่หลังจากเสียชีวิตทันทีได้ ส่งผลให้ร่างไม่เป็นธรรมชาติเหมือนเสียชีวิตใหม่ๆ และกระทบต่อการศึกษาฝึกผ่าตัดของแพทย์ไม่ได้ผลเท่าที่ควร

สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ “แพทย์” ฝึกทักษะผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีใหม่ไม่เต็มประสิทธิภาพในอนาคต มีโอกาสเกิดผิดพลาดง่าย ในส่วน “นิสิตแพทย์” ยังแก้ปัญหาให้เหมาะสมต่อจำนวนอาจารย์ใหญ่ที่มีได้ ดังนั้น “ผู้อยู่เขต กทม. และปริมณฑล” ประสงค์อุทิศร่างกายแสดงจำนงได้ “ศูนย์ฝึกผ่าตัด” 0-2256-4281 ต่อ 1156

ดับสลด! ทันตแพทย์ ติดเชื้อ หลังอยู่หอผู้ป่วยวิกฤตมา 4 สัปดาห์

ชาวเน็ตเห็นใจ! บุคลากรทางการแพทย์ระบายความในใจ ถูกกดดันให้ฉีดวัคซีนโควิด