เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ชาวเน็ตแห่ตั้งคำถาม ‘ไม่เห็นความเปลี่ยนแปลง’ หลังครบรอบ 3 ปี ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ ยกเลิกใช้สำเนาบัตร ประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน

เมื่อวันที่ 30 เม.ย.64 โซเชียลมีเดียมีการแชร์โพสต์เก่าในปี พ.ศ.2561 ที่เกี่ยวข้องกับการประกาศยกเลิกใช้สำเนาบัตรประชาชนของหน่วยงานรัฐในประเทศไทย ซึ่งต่อมามีการประกาศขยายการใช้ในหน่วยงานอื่น ๆ ด้วย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายพัฒนาประเทศไทย (ไทยแลนด์ 4.0)

โดยโพสต์ที่ถูกเผยแพร่ เป็นโพสต์ที่อ้างอิงข้อความจาก เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเผยแพร่ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง ยกเลิกการใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า “ตามข้อ 17 ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 21/2560 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560 ประกอบกับที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบายThailand 4.0 ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2561 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ยกเลิกการใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน เพื่อรองรับการเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) นั้น

เพื่อให้การปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร และกฎหมายอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร และการติดต่อราชการกรมสรรพากร เป็นไปตามมติที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนตามนโยบาย Thailand 4.0 ดังกล่าว อันเป็นการอำนวยความสะดวกรวดเร็วและลดภาระของประชาชนในกรณีที่ต้องใช้เอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่ง ดังต่อไปนี้

ให้ยกเลิกการใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน ในการปฏิบัติการตามประมวลรัษฎากร และกฎหมายอื่นที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมสรรพากร รวมถึงประกาศระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ ข้อกำหนด หรือแนวทางปฏิบัติต่าง ๆ ของกรมสรรพากร ที่กำหนดให้บุคคลใด ๆ ต้องใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้าน เว้นแต่ในกรณี ดังต่อไปนี้

1. กรณีจำเป็นและต้องการสำเนาเอกสารดังกล่าว ให้เจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรเป็นผู้จัดทำสำเนาเอกสารดังกล่าวขึ้นเอง และห้ามมิให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการจัดทำสำเนาเอกสารนั้น
2. กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน ให้ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง”