เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

วันที่ 22 เม.ย. 2564 ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้ทำการถ่ายทอดสดความยาวประมาณ 30 นาที ขณะอยู่ในอาการเศร้าเสียใจ และร้องไห้ตลอดเวลา โดยที่ในอ้อมอกนั้นมีลูกน้อยวัย 10 เดือนของเธออยู่ด้วย โดยเธอเล่าว่า ลูกเธอป่วยติดโควิด-19 ตอนนี้มีไข้สูง แต่ตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา ไปหาหมอ 3 รพ. ไม่มีที่ไหนรับรักษา ตอนที่กำลังไลฟ์ คือ มาหาหมอ รพ. ที่ 4 รออยู่หน้า รพ. เกือบ 2 ชม. ก็ยังไม่มี รพ. รับลูกไปรักษา และขอให้คนที่รู้จักช่วยแนะนำหมอรักษาอาการของลูกด้วย เพราะ รพ. ในกรุงเทพฯ เต็มหมด ซึ่ง รพ. นี้แจ้งว่าให้เธอรอหมอมาตอน 8 โมง แม้จะอ้อนวอนขอให้หมอลงมาดูเด็กก่อน แต่เจ้าหน้าที่ รพ. ก็ยังนิ่งเฉย

เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้องโร

ผู้สื่อข่าวได้พูดคุยกับคุณตาและคุณแม่ของเด็ก บอกว่า ตอนนี้น้องยังไข้สูง 39 องศาเซลเซียส และอยู่ระหว่างรอเจ้าหน้าที่สวมชุด PPE ลงมารับตัวทั้ง 3 คนมารับไปรักษา เพราะติดเชื้อโควิด-19 ด้วยกันทั้งหมดโดยคุณแม่เล่าว่า เหตุผลที่ รพ. ก่อนหน้านี้ไม่รับตัวลูกรักษา เพราะไม่มีเตียง และไม่มีมาตรการรองรับผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งบาง รพ. บอกว่าอาการไม่หนักให้กลับไปสังเกตอาการที่บ้าน ซึ่งส่วนตัวอยากให้ลูกถึงมือหมอ เพราะไข้สูงมากแล้วส่วนที่มาของการติดเชื้อไวรัส คือ คุณแม่ไปเที่ยวที่ศูนย์การค้าแห่งหนึ่ง ในพื้นที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ก่อนจะทราบข่าวว่ามีคนติดโควิด จึงไปตรวจและพบว่าลูกวัยเพียง 10 เดือนก็ติดด้วย เมื่อคืนก็เริ่มออกจากบ้านย่านบางนา ตระเวนหา รพ. มาเรื่อยๆ จนสุดท้ายพลเมืองดียื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ และพามารักษาที่ รพ.ภูมิพลอดุลยเดช ก็ต้องขอขอบคุณพลเมืองดี และสื่อที่ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ และเตรียมฟ้องกลับ รพ. ที่ปฏิเสธการรักษาหากลูกได้รับอันตรายขณะที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กส่วนตัว “Eakpob Laungprasert” ได้โพสต์ข้อความว่า “เคสน้อง 10 เดือน ติดโควิด ตอนนี้ได้ประสานท่าน ผอ.รพ.ภูมิพล ให้แล้ว น้องกำลังมา รพ.ภูมิพล”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ กระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศมา 2 ฉบับ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 5 มีนาคม 2564 สาระสำคัญทั้ง 2 ฉบับ คือ ห้ามโรงพยาบาลเอกชนปฏิเสธการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หากพบว่าฝ่าฝืน ก็จะลงโทษ ไม่มีละเว้น โดยประกาศทั้ง 2 ฉบับนั้น ระบุว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ถือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ตาม ม.36 พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ที่โรงพยาบาลจะต้องดูแลช่วยเหลือให้พ้นจากอันตราย หเามปล่อยปละละเลยหรือปฏิเสธการรักษา หากจะย้ายผู้ป่วยไปที่อื่น ทางโรงพยาบาลก็ต้องจัดส่งต่อไปยังที่เหมาะสมเอง ห้ามมิให้ผู้ป่วยเดินทางไปรับการรักษาต่อด้วยตนเอง หากสถานพยาบาลใดฝ่าฝืน ปล่อยปละละเลย ปฏิเสธการรักษา หรือปล่อยให้ผู้ป่วย ผู้ที่มีอาการเข้าเกณฑ์การเฝ้าระวังผู้ป่วยโรคติดเชื้อโควิด-19 เดินทางไปรักษาต่อ ณ สถานพยาบาลอื่นด้วยตนเอง จะถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ และพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

อย่างไรก็ตาม ล่าสุดตอนนี้น้องได้รับการรักษาจากทีมแพทย์ รพ.ภูมิพลแล้ว น้องปลอดภัยแล้ว ขอบคุณทุกคนที่ช่วยเหลือน้องนะคะ