เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรียกร้องให้ผู้พิพากษาปล่อยตัวชั่วคราวนักเคลื่อนไหวทางการเมือง

เมื่อเวลา 11:13 น. ที่ศาลอาญา รัชดา กลุ่มสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนษยชน ได้เข้ายื่นจดหมายถึงผู้พิพากษา โดยมีรายชื่อนักฎหมายจำนวน 187 รายชื่อ เพื่อเรียกร้องให้ผู้พิพากษาได้ทำการปล่อยตัวชั่วคราว หรือ สิทธิการประกันตัวเหล่านักเคลื่อนไหวทางการเมือง เพื่อยืนยันหลักการตามรัฐธรรมนูญที่บัญญัติรับรองไว้ว่าก่อนที่จะมีคำพิพากษาจำเลยจะถูกปฏิบัติเหมือนผู้กระทำผิดไม่ได้

โดย ข้อความในจดหมายมีดังนี้

จากกรณีที่นักเคลื่อนไหวทางการเมืองถูกจับกุมดำเนินคดีตามความผิดตามประมวลผล ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ 116 และศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยหรือผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ด้วยเหตุผลหลายประการเช่น มีคดีอัตราโทษสูงกว่าเกรงจะหลบหนีและเกรงว่าถ้าปล่อยตัวไปแล้วจำเลยจะ ไปกระทำผิดซ้ำกับความผิดที่พูดได้ถูกฟ้อง เป็นต้น แม่ทนายความและนักวิชาการได้พยายามยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยตัวชั่วคราว รวมทั้งอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวไปหลายครั้ง แต่ศาลอาญามีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวผู้กล่าวหา โดยใช้เหตุผลว่า ไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งทำให้จำเลยที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมืองถูกคุมขังในระหว่างการพิจารณาคดีโดยปัจจุบันเป็นเวลากว่า 1 เดือนแล้วและยังมีจำนวนอื่นๆที่ทยอยถูกฟ้องและศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการปล่อยตัวชั่วคราวเช่นกัน
วันนี้สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนในฐานะองค์กรต้นสังกัดที่ทนายอานนท์นำภาเป็นสมาชิกร่วมกับศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนในฐานะสำนักงานที่นายอานนท์นำภาสังกัดอยู่ พร้อมกับรายชื่อทนายความจำนวน 187 คน ที่ร่วมลงชื่อยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวอานนท์นำภาและจำเลยในคดีความผิดลักษณะเดียวกันอีกครั้ง เพื่อยืนยันตามหลัก การตามรัฐธรรมนูญ ที่บัญญัติรับรองไว้ว่าก่อนที่จะมีคำพิพากษาจำเลยจะถูกปฏิบัติเหมือนผู้กระทำผิดไม่ได้ประกอบกับมาตรา 107 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติให้สิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนถึงได้รับอนุญาตในการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นหลักไม่ใช่ให้นำข้อยกเว้นมาถือเป็นปฏิบัติเป็น สรณะ และใช้หลัก ในข้อยกเว้นนั้นละเมิดสิทธิ์ ของจำเลยเพื่อพิจารณา หลักเกณฑ์ข้อยกเว้นมีให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลย
หรือผู้ต้องหาตามมาตรา 108/1 พบว่าไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยจะมีพฤติการณ์ที่เข้าองค์ประกอบที่ศาลจะสามารถยกหลักข้อยกเว้นดังกล่าวมาบังคับใช้ซึ่งข้อยกเว้นดังกล่าวคือ
(1) ผู้ต้องหา หรือ จำเลยจะหลบหนี
(2) ผู้ต้องหา หรือ จำเลย จะไปยุ่งเหยิง กับพยานหลักฐาน
(3) ผู้ต้องหา หรือ จำเลย จะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
(4) ผู้ร้องขอประกัน หรือ หลักประกันไม่น่าเชื่อถือ
(5) การปล่อยตัวชั่วคราว จะเป็นอุปสรรค หรือ ก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อการสอบสวน ของเจ้าพนักงาน หรือ ดำเนินคดีในศาล
ทั้งนี้เพื่อยืนยันหลักแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายตามด้วยหลักการของ ความเป็นนิติรัฐ ให้ไปรับที่จะต้องบังคับใช้กฎหมายเพื่อความเป็นธรรมแก่ประชาชน สมาคมนักกฎหมายฯ ขอเรียกร้องให้ ผู้พิพากษามีคำสั่ง ไม่ปล่อยตัวชั่วคราวนายอานนท์นำภาและเพื่อนๆ รวมถึงผู้ต้องหา หรือจำเลยในความผิดที่ถูกจับกุมหรือถูกฟ้องในความผิดลักษณะเดียวกันนี้โดยเร็ว การปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยในระหว่างพิจารณาคดีไม่เพียงแต่เป็น การยืนยันหลักการและเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญ ในเรื่องสิทธิของจำเลยในคดีอาญาเท่านั้น ทำไมความรวมถึงการยืนยันความกล้าหาญของสารที่จะใช้กฎหมายเพื่อมุ่งคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ มิใช่มุ่งแต่จำกัดหรือลิดรอนสิทธิในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ของจำเลย และขอเรียกร้องให้ศาลปฏิบัติหน้าที่โดยยึดมั่นในหลักความเป็นอิสระและเที่ยงธรรมสารต้องเป็นตาชูแห่งความยุติธรรมไม่ลำเอียงหรือสั่นคลอนต่ออิทธิพลใด เพื่อให้ตาชูที่ยิ่งใหญ่และสง่างามสืบไป

ภาพ : พุฒิพงศ์ ธัญญพันธุ์