เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

พนักงานร้านกาแฟชื่อดัง เผย โดนไล่ออกจากงาน เพราะไปกินกาแฟของคู่แข่ง แล้วโพสต์ลงโซเชียล ฝั่งหนึ่งบอกสมควร ทำภาพลักษณ์ร้านเสีย อีกฝั่งบอกผู้จัดการก็เกินไป ตักเตือนก็พอไหม ?

กำลังเป็นดราม่าร้อนบนโลกออนไลน์เลยทีเดียว เมื่อสาวคนหนึ่งซึ่งเป็นพนักงานของร้านกาแฟแห่งหนึ่ง ได้โพสต์ภาพลงในสตอรี่ของตัวเอง เป็นภาพขณะที่กินกาแฟของแบรนด์คู่แข่ง จนกระทั่งผู้จัดการมาเห็น เป็นเหตุให้เธอถึงกับโดนไล่ออก จนเกิดคำถามว่า การกระทำแบบนี้ สมควรแก่เหตุหรือไม่

โดยเผยว่า ตนเป็นพนักงานร้านกาแฟแห่งหนึ่ง เธอไปกินกาแฟแบรนด์คู่แข่ง มีการโพสต์ภาพลงสตอรี่ จากนั้นเมื่อเจ้าของร้านมาเห็น ก็ได้แคปสตอรี่มาลงกลุ่มไลน์ และบอกให้เธอพักงาน 1 อาทิตย์ พร้อมกับบอกให้เพื่อนอีกคนมาทำงานแทน เจ้าของร้านบอกว่า การซื้อกาแฟของร้านคู่แข่งมากินไม่ผิด ผิดที่มาถ่ายรูปลงโซเชียล เธอเลยประท้วงว่า คนที่ทำมี 2 คน ทำไมเธอโดนคนเดียว

นอกจากนี้ ตัวเธอยังเผยต่ออีกว่า ตอนนี้เธอต้องออกจากงานเพราะเรื่องแค่นี้ ตนไม่รู้ว่าแบบนี้คือผิด ไม่มีใครมาตักเตือน พนักงานคนอื่นก็ทำแบบเดียวกัน แต่มีตนคนเดียวที่โดน ตนเป็นคนโดนแท็ก ไม่ใช่คนเขียนแคปชั่น จากที่ตนรู้คือ สตอรี่เป็นสิทธิส่วนบุคคล ตนก็ใส่สตอรี่แบบนั้นมาโดยตลอด ตนมีลูก มีสามี มีภาระ ทำแบบนี้มันไม่เกินไปหน่อยหรือ

อย่างไรก็ตาม ได้มีการเผยให้เห็นว่า กาแฟของคู่แข่งที่เธอกินนั้น ไม่ใช่การไปกินที่ร้านของคู่แข่ง แต่เป็นการซื้อกาแฟร้านคู่แข่ง มากินในร้านของตัวเองด้วย โดยสังเกตจากเครื่องแบบพนักงานที่อยู่ด้านหลัง และยังระบุระบุแคปชั่นว่า “เบื่อแล้วอเมซอน กิน…ดีกว่า”
เรื่องนี้ทำโลกออนไลน์เสียงแตกเป็นสองฝักสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งบอกว่า การที่สาวคนนี้ซื้อกาแฟจากร้านคู่แข่ง มากินที่ร้านของตัวเอง และโพสต์ลงโซเชียล แบบนี้ถือว่าไม่ให้เกียรติแบรนด์ ไม่ให้เกียรติร้าน ไม่ให้เกียรติอาชีพการงานของตัวเอง แน่นอนไม่ผิดที่เธอกินกาแฟแบรนด์อื่น แต่การโพสต์ประกาศให้โลกรู้ ก็พลอยจะทำให้ที่มาเห็นเกิดความเคลือบแคลงสงสัย ว่าเธอชงกาแฟขายแท้ ๆ แต่กลับกินกาแฟคนอื่น แบรนด์กาแฟที่เธอทานนั้นมันไม่ดีหรืออย่างไร

ในขณะที่อีกฝั่งก็มองว่า การจะไล่พนักงานออกนั้น จำเป็นต้องมีเหตุร้านแรงผิดกฎบริษัท แต่การซื้อกาแฟร้านอื่นมากิน แล้วโพสต์ลงโซเชียล มันผิดกฎบริษัทหรือเปล่า และอีกอย่างการสั่งแบบนี้ น่าจะเป็นการสั่งจากตัวสาขาเอง ไม่ใช่คำสั่งของตัวบริษัทแม่ ดังนั้นต้องดูว่า คำสั่งของสาขา ผิดระเบียบบริษัทแม่หรือไม่