เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 6 พ.ค. ที่กระทรวงแรงงาน ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รมว.แรงงาน แถลงการดำเนินงานจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ในกรณีที่ลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างให้ทำงาน อันเนื่องมาจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 หรือเนื่องจากนายจ้างหยุดประกอบกิจการเอง หรือหยุดประกอบกิจการตามคำสั่งของทางราชการซึ่งทำให้ผู้ประกันตนได้รับผลกระทบและไม่ได้รับค่าจ้างสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างผู้ประกันตนได้รับ คือสิทธิกรณีว่างงานร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวันไม่เกิน 90 วัน ว่า ตนได้สั่งการให้สำนักงานประกันสังคม เร่งจ่ายเงินให้ผู้ว่างงานที่ยื่นขอรับสิทธิประโยชน์ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย ให้เสร็จภายในวันที่ 15 พ.ค.นี้

ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าวว่า วันที่ 5 พ.ค. จำนวน 990,523 ราย เจ้าหน้าที่วินิจฉัยอนุมัติแล้ว 492,273 ราย เป็นงิน 2,563.612 พันล้านบาท และมีลูกจ้างที่ว่างงาน 289,104 ราย ที่ยังรอนายจ้างเข้ามารับรองสิทธิ์ ซึ่งกลุ่มนี้สำนักงานประกันสังคมและเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานจะส่งหนังสือแจ้งเตือนนายจ้าง ขอให้เข้ามารับรองการหยุดงานของลูกจ้าง ภายในวันที่ 8 พ.ค.นี้ ไม่เช่นนั้นจะถูกปฏิเสธการรับเงิน

ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีลูกจ้าง ผู้ประกันตนที่ได้รับการวินิจฉัยปฏิเสธไม่ได้รับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยจากเหตุสุดวิสัยนั้น สำนักงานประกันสังคมได้เตรียมความพร้อมรองรับข้ออุทธรณ์จากผู้ที่ได้รับการปฏิเสธสิทธิดังกล่าว โดยมีคณะกรรมการอุทธรณ์ร่วมพิจารณาวินิจฉัยให้กับผู้ที่ได้รับการปฏิเสธการขอรับสิทธิ ประโยชน์กรณีว่างงานอันเนื่องมาจากเหตุสุดวิสัยแล้ว โดยเปิดให้ยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 18 พ.ค.เป็นต้นไป ที่สำนักงานประกันสังคมทุกจังหวัดที่ลูกจ้างทำงานอยู่

ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าวอีกว่า ตนเตรียมเสนอครม.อนุมัติการจ่ายเงินให้กับผู้ประกันตน ที่ว่างงานจากเหตุสุดวิสัย เป็ยร้อยละ 75 ของค่าจ้างรายวัน ยาวไปจนถึงสิ้นปี จากเดิมที่จ่ายร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน เพียง 3 เดือน ระหว่างเดือนมี.ค.-พ.ค. เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ซึ่งจากผลของเศรษฐกิจที่มีแววว่าจะแย่ลงและอาจมีผู้ตกงานเพิ่มขึ้น นอกจากเสนอครม.ช่วยลูกจ้างแล้ว นายจ้างก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน จึงเตรียมเสนอลดอัตราการเงินจ่ายเงินสมทบของนายจ้างเหลือเพียงร้อยละ 1 จากเดิมจ่ายร้อยละ 4 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ทุกกลุ่ม ไม่เฉพ่ะแค่ลูกจ้าง

“จากการตรจสอบ พบว่าอาจมีผู้ประกันตนกว่า 1 แสนราย ถูกปฏิเสธ เนื่องจากพบว่ายังมีงานทำอยู่ แต่ก็เปิดให้ยื่ยอุทธรณ์ได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ประกันตนได้รับหนังสือปฏิเสธการได้รับเงินแล้ว ต้องยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ไม่มีระบบออนไลน์ ต้องยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคม หรือ ทางไปรษณีย์เท่านั้น” ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าว