เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ผู้ช่วย รมต แรงงาน เผย บอร์ดประกันสังคม เตรียมถกขยายสิทธิผู้ประกันตนรับเงินชดเชยกลุ่ม โรงแรมท่องเที่ยว บริการ เข้าเกณฑ์เหตุสุดวิสัย จ่อใช้ฐาน 62เปอร์เซ็น รับต่ำสุด 5000 สูงสุดไม่เกิน 9300 บาท คาดเปิดก๊อกปลายสัปดาห์หน้า

แรงงาน นายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่มีกระแสข่าวสำนักงานประกันสังคม สปส เตรียมหารือเกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชยกรณีปิดกิจการชั่วคราวให้กับลูกจ้างผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่กระจาย CO VID จำนวน 9000 บาท ว่า เรื่องดังกล่าวนี้เป็นเรื่องเดิม ซึ่งผู้ประกันตนที่จะได้รับเงินชดเชย คือ

1 กรณีรัฐสั่งปิด และ

2 ประสบวิกฤต CO VID

ตรงๆ คือคนในหน่วยงานติดเชื้อ หรือมีคนกลุ่มสงสัย และสิ่งที่จะเกิดขึ้นใหม่ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าวนี้ เรามองว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่เขาไม่สามารถมาทำงานได้ตามปกติ หรือประกอบกิจการได้ตามปกติ ฉะนั้นก็ควรที่จะได้รับเงินชดเชยในส่วนนี้ด้วย นายดวงฤทธิ์ กล่าว

ส่วนอัตราชดเชยจำนวน 9000 บาทนั้น นายดวงฤทธิ์ กล่าวว่า คิดอัตราเดียวกันกับกลุ่มลูกจ้างผู้ประกันที่ได้รับเงินชดเชยว่างงานร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน แต่ไม่เกิน 90 วัน

ฐานคือค่าแรงขั้นต่ำ และเพดานคือ 15000 บาท เท่ากับว่าเขาจะได้รับไม่เกิน 9300 บาท และได้ไม่ต่ำกว่า 5000 บาท เพียงแต่ว่า เราจะไปช่วยคนที่เขาเดือดร้อนแต่ยังไม่ครอบคลุมจากมาตรการก่อนหน้านี้ เช่น กลุ่มลูกจ้างในโรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจขนส่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 ทั้งนี้การช่วยลูกจ้างกลุ่มนี้ จะเป็นการช่วยผู้ประกอบการไปด้วย นายดวงฤทธิ์ กล่าว

นอกจากนี้ นายดวงฤทธิ์ ยังกล่าวถึงยอดผู้ประกันตนที่ลงทะเบียนรับสิทธิเงินว่างงานว่า ขณะนี้ยอดยังใกล้เคียงเดิม เพราะนายจ้างเขายังสู้อยู่ และเขารับรู้ถึง 2 มาตรการ ที่เข้าเกณฑ์จากภาครัฐที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เชื่อว่าหลังจากวันที่ 14 เมษายนนี้ ที่จะมีการประชุมคณะกรรมการประกันสังคม

บอร์ดประกันสังคม หากมีการขยายผู้ที่จะได้การชดเชยไม่ว่าจะเป็นธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจบริการ หรือธุรกิจโรงแรม ได้ด้วย เชื่อว่าผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจะมาลงทะเบียนเพิ่มขึ้น เพราะขณะนี้เขายังไม่เข้าเกณฑ์รับการช่วยเหลือ

ขณะนี้เรากำลังเร่งเพื่อที่จะจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ประกันตน ทั้งนี้จากที่คำนวณคาดว่าปลายสัปดาห์หน้าจะต้องมีการจ่ายเงินชดเชยในส่วนนี้ อย่างไรก็ตาม ที่หลายคนบอกว่ามีความล่าช้านั้น เพราะเรื่องดังกล่าวนี้ประกอบด้วยกันหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไขเรื่องประสิทธิให้ผู้ประกันตนได้รับเงินขดเชยเพิ่มขึ้นจากเดิม ร้อยละ 50 ขยับขึ้นเป็นร้อยละ 62 จึงทำให้มีขั้นตอนเพิ่มเข้ามา นายดวงฤทธิ์ กล่าว

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ทั้งนี้หากไม่แก้กฎหมาย ผู้ประกันตนหลายคนจะได้รับเงินช่วยเหลือน้อยกว่า 5000 บาท ซึ่งมองว่าไม่สมเหตุสมผล นอกจากนี้ การเกิดวิกฤต CO VID ไม่เคยมีมาก่อนเดิมทีหลายเรื่องไม่เข้าข่าย ก็ต้องมาดำเนินการปรับแก้ให้เข้าข่ายเพื่อที่จะได้ช่วยเหลือให้ครอบคลุมทันสถานการณ์ รวมถึงจะต้องนำมาตรการเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ครม เพื่อขอความเห็นชอบอีกด้วย