เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

วันที่ 6 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภากรุงเทพมหานครสมัยประชุมวิสามัญ สมัยแรกครั้งที่ 1 ประจำปี 2562 วานนี้ (5 มิ.ย.) โดยมี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. คณะผู้บริหารสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมโดย นายคำรณ โกมลศุภกิจ ประธานกรรมการวิสามัญร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสีย(ฉบับที่…)พ.ศ….ได้รายงานผลการพิจารณาของคณะกรรมการวิสามัญฯหลังจากได้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพื่อนำมาประกอบพิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวตามมาตรา 77วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยผลการรับฟังความคิดเห็นประชาชนพบว่ามีผู้เห็นด้วยร้อยละ80ของผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน1,111 คน  เห็นด้วยในการจัดเก็บค่าบำบัดน้ำเสีย  จึงได้นำมารายงานมาเพื่อเสนอให้สภากทม.พิจารณาต่อไปทั้งนี้ในส่วนของอัตราจัดเก็บนั้นจะมีการจัดเก็บร้อยละ80ของการใช้น้ำประปาตามแหล่งกำเนิดโดยแบ่งเป็นสามประเภทคือคือ ประเภทที่1คือบ้านเรือนทั่วไปจำนวน 2 บาท /ลบ.ม.   ประเภทที่2 อาคารที่อยู่อาศัยเชิงพาณิชย์  จำนวน 4 บาท/ลบ.ม. และประเภทที่3หรือโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน 8บาท/ลบ.ม. ซึ่งในส่วนของบ้านเรือนทั่วไป คำนวณตามปริมาณน้ำที่ใช้แต่ละบ้านแล้วน่าจะเสียค่าบำบัดน้ำเสียไม่น่าเกิน 50 บาทต่อเดือน

โดยพื้นที่ที่จะจัดเก็บนั้นในเบื้องต้นจะจัดเก็บใน 21 เขต การปกครองได้แก่ เขตพระนครป้อมปราบศัตรูพ่าย  สัมพันธวงศ์ บางรัก สาทรบางคอแหลม ยานนาวา ดินแดง  ราชเทวี พญาไท ปทุมวัน บางซื่อ  จตุจักร ห้วยขวาง หนองแขม  บางแค ภาษีเจริญ ดุสิต ทุ่งครุจอมทอง และราษฎร์บูรณะที่อยู่ในพื้นที่บริการบำบัดน้ำเสียของโรงควบคุมคุณภาพน้ำ8 แห่ง  คือโรงควบคุมคุณภาพน้ำสี่พระยา รัตนโกสินทร์ ดินแดง ช่องนนทรีจตุจักร หนองแขม ทุ่งครุและบางซื่อโดยให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครดำเนินการออกระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จภายใน240วันนับแต่วันที่ข้อบัญญัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นชอบร่างข้อบัญญัติดังกล่าวเพื่อส่งให้ผู้ว่าฯกทม.ลงนามและประกาศใช้ข้อบัญญัติต่อไป ซึ่งหากพิจารณาตามขั้นตอนแล้วคาดว่าจะประกาศมีผลบังคับใช้ได้ทันภายในปีนี้

ควักอีก!คนกรุงเตรียมจ่าย 'ค่าบำบัดน้ำเสีย'คิดจากน้ำใช้

รายงานข่าวแจ้งว่าสำหรับร่างข้อบัญญัติดังกล่าวเป็นการนำร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียพ.ศ.2547 ที่ใช้บังคับมาเป็นเวลากว่า14ปี แต่ยังไม่มีการนำมาใช้ตามหลักการและวัตถุประสงค์ของข้อบัญญัติซึ่งเป็นการนำร่างเอาร่างเดิมมาพิจารณาใหม่ทั้งฉบับเพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน  สำหรับการจัดเก็บในเบื้องต้นคาดว่าจะดำเนินการจ้างบุคคลภายนอกเข้ามาเก็บซึ่งผู้บริหาร จะพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง  โดยคาดว่าในแต่ละปีกทม.จะสามารถจัดเก็บรายได้จากค่าประมาณน้ำเสียประมาณ 500 ล้านบาทปี.