เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

บทวิเคราะห์ผู้แพ้ ผู้ชนะ และตาอยู่ในสงครามการค้าที่มีผู้ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกเป็นเดิมพัน โดยกรกิจ ดิษฐาน หัวเว่ยคือเป้าหมายการโจมตีจากรัฐบาลสหรัฐ โดยมีกูเกิลเป็นหัวหอกภาคธุรกิจของสหรัฐที่ประกาศตัดญาติขาดมิตรหัวเว่ย

ออกจากระบบแอนดรอยด์แต่ผู้แพ้ที่ยับเยินที่สุดไม่ใช่หัวเว่ย แต่เป็นกูเกิลมีคำกล่าวว่า “สถานการณ์สร้างวีรบุรุษ” หัวเว่ยกำลังตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้น แม้ว่าหัวเว่ยจะไม่ใช่วีรบุรุษ แต่สถานการณ์ที่บีบคั้นกำลังทำให้หัวเว่ยต้องเร่งพัฒนาระบบปฏิบัติการของตัวเองขึ้นมา ซึ่งเราทราบกันแล้วว่ามันคือระบบปฏิบัติการหงเหมิง(Hongmeng) และหัวเว่ยซุ่มพัฒนา OS ตัวนี้มาระยะหนึ่งแล้วในฐานะแผน B

หลังจากนี้ไม่เฉพาะแต่หัวเว่ยเท่านั้นที่ต้องมีแผน B ประเทศไหนก็ตามที่มีเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนของตัวเอง หรือมีปัญหาระหองระแหงกับประเทศตะวันตก จะต้องซุ่มพัฒนา OS และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมารองรับสถานการณ์แบบนี้เช่นกันเพราะรับประกันไม่ได้ว่า วันดีคืนดีสหรัฐจะลุกขึ้นมาใช้ไม้นี้กับพวกเขาหรือไม่?

เรื่องนี้จึงอาจถือเป็นจุดจบของยุครุ่งเรืองของกูเกิล ที่กุมระบบแอนดรอยด์มาหลายปี แต่แทนที่จะทำธุรกิจแบบตรงไปตรงมา กลับยอมให้รัฐบาลชี้นำจนนำไปสู่ความเสียหายทางธุรกิจแบบตรงไปตรงมา กลับยอมให้รัฐบาลชี้นำจนนำไปสู่ความเสียหายทางธุรกิจ

หัวเว่ยเป็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงอย่างที่ถูกกล่าวหาหรือไม่นั้น เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เราต้องวิเคราะห์กัน แต่อาจกล่าวโดยย่อไว้ ณ ที่นี้ได้เลยว่า จนถึงทุกวันนี้ สหรัฐและพันธมิตรก็ยังไม่มีหลักฐานเอาผิดหัวเว่ยได้แบบอยู่หมัดมีแต่ข้อกล่าวหาลอยๆ เท่านั้น แน่นอนว่า หัวเว่ยต้องรู้เรื่องนี้และคาดการณ์เอาไว้แล้ว OS หงเหมิงไม่ใช่แค่แผน B แต่ยังมีแผน C ที่รองรับเอาไว้แล้ว นั่นคือ App Gallery ซึ่งเปิดตัวไปตั้งแต่ปีที่แล้ว เป็นร้านค้าแอพที่ให้บริการนอกจีน และหัวเว่ยออกแบบแอพที่จะตอบสนองผู้ใช้ในโลกตะวันตกโดยไม่อิงกับระบบของกูเกิล

จริงอยู่ที่พวกเรายังต้องใช้ระบบแอนดรอยด์และแอพพลิเคชั่นของกูเกิล แต่หลังจากนี้เราจะเริ่มตาสว่างกันแล้วว่า การผูกขาดตลาดโดยกูเกิลมีอันตรายมากแค่ไหน