เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

อากาศร้อนกับประเทศไทยกลายเป็นของคู่กันที่แยกไม่ออกซะแล้ว ไม่ว่าจะฤดูไหนๆก็ร้อนทุกฤดูจริงๆ และที่ อ.เถิน ลำปาง ร้อนจัดต่อเนื่องกว่าสัปดาห์ อุณหภูมิร้อนจัดใกล้แตะ 44 องศา นับจากนี้ยังเผชิญร้อนจัดได้อีกยังเหลือครึ่งหลังเมษายน ช่วงที่อากาศร้อนอบอ้าวที่สุดในฤดูร้อน

เดือนเมษายน เป็นเดือนที่ร้อนอบอ้าวที่สุดในฤดูร้อนของประเทศไทย สำหรับในประเทศไทยอุณหภูมิร้อนจัดสูงสุดที่เคยบันทึกเอาไว้ คือ 44.6 องศาเซลเซียส ที่แม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559 ทำลายสถิติเดิมคือ 44.5 ที่ จ.อุตรดิตถ์ เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2503

สำหรับในปีนี้ 2562 เป็นอีกหนึ่งปี ที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ จะเผผชิญร้อนจัด 42-43 องศา แต่ล่าสุดอุณหภูมิทะยานใกล้แตะ 44 องศาแล้ว โดยเฉพาะที่ลำปาง ร้อนต่อเนื่องติดต่อกัน และทลายสถิติอุณหภูมิร้อนจัดเมื่อเมื่อที่ที่แล้วไปหลายครั้ง

สถิติอุณหภูมิสูงสุดฤดูร้อนของไทยปี 2561

15 เม.ย อ.เถิน จ.ลำปาง 41.6 องศา

15 เม.ย. อ.เมือง กาญจนบุรี 41.3 องศา

สถิติร้อนจัด อ.เถิน จ.ลำปาง เมษายน 62

13 เมษา 43.1

14 เมษา 43.1

15 เมษา 43.3

16 เมษา 43.0

17 เมษา 43.2

ขัอมูลกรมอุตุนิยมวิทยา

ขณะที่ แฟนเพจ เมืองเถิน นครลำปาง เกาะติดรายงาน อุณหภูมิความร้อนจัดลำปางติดอันดับ “ร้อนที่สุดในโลก”

อ.เถิน อุณหภูมิ 43.7 องศา สูงเป็นอันดับ 5 ของโลก

ลำปาง อุณหภูมิ 42.9 องศา สูงเป็นอันดับ 13 ของโลก

สถิติเมื่อวันที 17 เมษา 2562

ทำไมเมืองเถินถึงเป็นศูนย์กลางความร้อน? และ จะแก้ปัญหานี้อย่างไรมาร่วมแสดงความคิดเห็นกันทำให้คนลำปาง ออกมาให้ความเห็นจำนวนมาก

อาทิ คุณ Sine Welanovsky ลักษณะทางธรณีวิทยาของลำปางและตากคือประกอบด้วยผิวดินปดคลุมหินอัคนี หินแกรนิต ประกอบกับการมีต้นไม้น้อยลง ทำให้ดินปะทะแสงแดดเต็มๆและลงไปสะสมความร้อนที่ชั้นหินแล้วสะท้อนขึ้นมาเหมือนเตาอบ

แค่เราช่วยกันปลูกฉำฉาเยอะๆให้แผ่นดินสีเขียวกลับคืนมามากๆเราก็จะไม่ร้อนขนาดนี้แล้วครับ Watcharaphol Robert Chuechiu จำได้ว่าศูนย์กลางของสถิติสูงสุดแห่งความร้อนในฤดูร้อนเกือบทุกปี(หน้าฮัอนบ้านเฮา)จะอยู่ที่แถวๆอุ้มผางหรือแม่สอด-ตาก แต่ปีนี้ขยับขยายขึ้นมาบ้านเราแล้ว

ก็คงมีหลายปัจจัยอยู่ที่ทำให้เกิดครับ แต่ถ้ามีติดต่อกันหลายปีคงผิดปกติแล้วล่ะครับ

เบื้องต้น อาจเป็นเรื่องของธรรมชาติก็ได้ แต่สิ่งที่ควรพิจารณาด้วยคือ..

– ปริมาณของป่าไม้(ป่าร้อนชื้นธรรมชาติบ้านเรา)ที่สูญหายไปมากซึ่งมาพร้อมกับความเจริญทางสังคมที่แลกกับความสมดุลของธรรมชาติที่เริ่มหดหายไป- ค่านิยมดั้งเดิมและความเชื่อในการเผา เช่น กันไฟ เป็นปุ๋ย เพิ่มปริมาณเห็ดในฤดูที่จะมาถึง..