เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

นายมาริษ กรัณยวัฒน์ ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “กลุ่มลาขาดควันยาสูบ (ECST)” และเฟซบุ๊ก “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร?” พร้อมตัวแทนเครือข่ายฯ 20 คน เข้ายื่นหนังสือต่อพล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร ประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)พาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงาน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เพื่อขอให้ สนช.ทบทวนการแบนบุหรี่ไฟฟ้า พร้อมทั้งยื่นรายชื่อผู้สนับสนุนกว่า 16,000 คน ที่ร่วมลงชื่อใน Change.org ภายใต้แคมเปญ “ลดระดับบุหรี่ไฟฟ้าจากสินค้าต้องห้าม เป็นสินค้าควบคุม”ตั้งแต่เดือนต.ค.ที่ผ่านมา และแนบผลการวิจัยของกระทรวงสาธารณสุขอังกฤษ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ ลอนดอน สถาบันมะเร็งอังกฤษ ที่ระบุว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีความปลอดภัยกว่าบุหรี่ ร้อยละ 95 หรือมีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวนเพราะไม่มีการเผาไหม้ ไม่มีควันซึ่งประกอบไปด้วยสารอันตรายที่ก่อมะเร็งกว่า 7,000ชนิด

 

นายมาริษ กล่าวว่า หลังเปิดแคมเปญฯใน Change.org มีผู้สนับสนุนกว่า 16,000 คน เห็นตรงกันว่า ผู้สูบกว่า 11.4 ล้านคน ควรมีทางเลือกในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่อันตรายน้อยกว่า และคนรอบข้างอีกกว่า 15 ล้านคน ก็จะได้รับอันตรายจากควันบุหรี่มือสองน้อยลง ขณะที่รัฐบาลมีพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ และพ.ร.บ.สรรพาสามิต พ.ศ.2560 ที่สามารถควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าได้อยู่แล้ว ซึ่งหน่วยป้องกันปัญหาการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนและทำให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีได้ด้วย นอกจากนี้ประกาศของกระทรวงพาณิชย์ที่ห้ามการนำเข้าและจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าเหมือนเป็นการบีบบังคับให้ผู้สูบบุหรี่ ยังต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่อันตรายมากกว่า เพราะมีควันจากการเผาไหม้ และเสี่ยงถูกจับกุมรีดไถจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ อีกทั้งยังสวนทางกับหลายประเทศที่อนุญาตให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้าถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้ร้ายแรงถึงขั้นต้องแบนแต่อย่างใด

“ทางกลุ่มฯได้ยื่นหนังสือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น นายกรัฐมนตรี กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงวิทยาศาสตร์กว่าร้อยฉบับ แต่ไม่มีความเคลื่อนไหวในทางที่ดีขึ้น เท่ากับรัฐบาลปล่อยให้มีคนตายจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ปีละ 51,000 คนต่อไป จึงอยากขอความเห็นใจจาก สนช.ช่วยรับฟังข้อมูลอย่างรอบด้าน ให้ช่วยตั้งคณะกรรมการพิจารณาทบทวนการแบนบุหรี่ไฟฟ้า” นายมาริษ กล่าว

ด้านพล.อ.สิงห์ศึก กล่าวว่า ทางกมธ.พาณิชย์ฯ ขอรับเรื่องดังกล่าวไปศึกษา และขอให้ส่งข้อมูลมาได้ ทั้งนี้เราต้องการที่จะลดการสูบบุหรี่ลง เพื่อจะได้ไปต้องไปเสียเงินในการรักษาโรคต่างๆ ในภายหลัง

 

 

เครดิต mgronline