เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

เรื่องไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ควรระวังอย่างมากในเด็กเล็ก โดยเพจ HerKid รวมพลคนเห่อลูก ได้มีการแชร์ประสบการณ์ของคุณแม่ท่านหนึ่ง ซึ่งปล่อยลูกให้เล่นอยู่ตามลำพังทำปลั๊กไฟระเบิด โดยคุณแม่ได้กล่าวว่า “เตือนภัยค่ะ อย่าปล่อยลูกไว้ลำพัง เราทิ้งลูกไว้ในห้อง ส่วนตัวเราไปทำกับข้าว สักพักได้ยินเสียงลูกร้อง เข้าห้องมากลิ่นเหม็นไหม้ ใจหายรีบดูลูก ลูกน่าจะดึงปลั๊กไฟลงมาเล่น แล้วกดสวิสต์ไฟเอง คิดว่าที่ระเบิดน่าจะเพราะลูกกระชากสายชาร์ตจนขาด สังเกตที่ตัวเบื้องต้นมีรอยแผลจากโดนสะเก็ดไฟ หลายจุดแค่เป็นแผลเล็ก กำลังพาหาหมอเช็คอีกทีค่ะ ฝากเตือนแม่ระวังด้วยค่ะบทเรียนราคาแพงจากแม่ที่ละเลยไม่ระวังอย่างเรา น้อมเราคำติทุกอย่างค่ะ”

 

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น (อ.นพ.พรพรหม เมืองแมน สาขาวิชาศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ ภาควิชาศัลยศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)

1.ต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากบริเวณที่ถูกไฟดูด ไฟช๊อตให้เร็วที่สุด และ ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องป้องกันอันตรายไฟฟ้าดูดผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือด้วย บ่อยครั้งพบว่าผู้เข้าไปช่วยเหลือผู้ป่วยที่ไม่ได้ระวังตรงจุดนี้ กลับถูกกระแสไฟฟ้าดูดเสียชีวิตไปด้วย ถ้าพบแหล่งไฟฟ้ารั่ว ควรพยายามหาทางตัดวงจรไฟฟ้าเสียก่อน หรือ ผู้ป่วยถูกไฟฟ้าแรงสูงดูด และมีสายไฟพาดผ่านตัวผู้ป่วยอยู่ เราต้องหาวัสดุที่เป็นฉนวนไม่นำกระแสไฟฟ้าเช่น ไม้ เขี่ยเอา สายไฟออกจากตัวผู้ป่วยก่อนๆ ที่จะเข้าไปช่วยเหลือ นอกจากนั้นต้องพยายามตรวจดูให้ละเอียดถึง บาดเจ็บที่อาจเกิดร่วมกับผู้ป่วยที่ถูกไฟฟ้าดูดได้เช่น อาจพลัดตกจากที่สูง อาจมีบาดเจ็บที่ศีรษะ หรือ กระดูกส่วนต่างๆเช่น กระดูกคอ กระดูกแขนขา กระดูกสันหลังหักร่วมด้วย เพราะ ฉะนั้นต้องให้ความเอาใจใส่และระมัดระวังในจุดนี้โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากที่เกิดเหตุ เพราะถ้าทำไม่ถูกต้องอาจเกิดความพิการอัมพาตตามมาได้

2.ตรวจดูหัวใจว่าหยุดเต้นหรือไม่ เพราะกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่ไหลผ่านหัวใจอาจทำให้คลื่นหัวใจหยุดเต้นได้ โดยใช้นิ้วมือคลำดูจากการเต้นของชีพจรบริเวณคอ ถ้าหัวใจหยุดเต้น ต้องทำการนวดหัวใจไปพร้อมๆ กับการผายปอด

3.หลังจากช่วยเหลือผู้ป่วยออกมาได้แล้วให้นำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด

 

ภาพและข้อมูลจาก HerKid รวมพลคนเห่อลูก