เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

จากผู้ที่ไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ที่ผ่านมากระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,182 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง 2562 ที่ผ่านมา

การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบ แบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงการไปลงคะแนนเสียงของประชาชนในการเลือกตั้งที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 91.96ระบุว่า ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในวันที่ 24 มีนาคม 2562

ขณะที่ร้อยละ 8.04 ระบุว่า ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในวันที่ 17 มีนาคม 2562

ส่วนการไปเฝ้าดูการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งที่คูหาของประชาชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.83 ระบุว่า ไม่ได้ไปเฝ้าดูการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งที่คูหา

รองลงมาร้อยละ 17.17 ระบุว่า ได้ไปเฝ้าดูการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งที่คูหา

ด้านความคิดเห็นต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการจัดการเลือกตั้งที่ผ่านมา พบว่า ประชาชน ร้อยละ 7.02 ระบุว่า มีความบริสุทธิ์ยุติธรรมมากที่สุด

ร้อยละ 18.95 ระบุว่า มีความบริสุทธิ์ยุติธรรมมาก

ร้อยละ 38.16 ระบุว่า มีความบริสุทธิ์ยุติธรรมปานกลาง

ร้อยละ 14.81 ระบุว่า มีความบริสุทธิ์ยุติธรรมน้อย

ร้อยละ 18.44 ระบุว่า มีความบริสุทธิ์ยุติธรรมน้อยที่สุด

ร้อยละ 0.50 ระบุว่าไม่ทราบ

ร้อยละ 0.34 ระบุว่า ไม่แน่ใจ

และร้อยละ 1.78 ระบุว่า ไม่แสดงความคิดเห็น

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความพึงพอใจของประชาชนต่อคะแนนเสียงที่ได้ของผู้ลงสมัคร ส.ส. หรือ พรรคการเมืองที่ตนเลือก พบว่า ประชาชน ร้อยละ 25.72 ระบุว่า พึงพอใจมาก

ร้อยละ 43.15 ระบุว่า ค่อนข้างพึงพอใจ

ร้อยละ 20.47 ระบุว่า ยังไม่ค่อยพึงพอใจ

ร้อยละ 10.07 ระบุว่า ไม่พึงพอใจเลย

และร้อยละ 0.59 ระบุว่า ไม่แน่ใจ/ไม่ระบุ

.