เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ไอลอว์ (iLaw) รายงานประวัติ 6 ผู้นำเหล่าทัพที่ได้เป็น ส.ว.แต่งตั้งโดยอัตโนมัติ ความว่า รัฐธรรมนูญปี 2560 ในบทเฉพาะกาล กำหนดให้วุฒิสภา (ส.ว.) มาจากการเสนอชื่อโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จำนวน 250 คน และต้องมี ส.ว. ที่มาจากผู้นำเหล่าทัพทั้ง 6 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการเรือ ผู้บัญชาการอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

ทั้งนี้ ตำแหน่ง ส.ว. ไม่ใช่ตำแหน่งเดียวที่บรรดาผู้นำเหล่าทัพจะได้ไปครอง เพราะหากนับตั้งแต่หลังการรัฐประหาร บรรดาผู้นำเหล่าทัพที่ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา ล้วนแล้วแต่มีตำแหน่งที่ คสช. เป็นผู้แต่งตั้งมากกว่าหนึ่งตำแหน่ง โดยมีรายละเอียดดังนี้

พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ หลังรัฐประหารได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 27 ก.ย.57 จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสซ. ยังออกคำสั่งหัวหน้า คสช. (เฉพาะ) ที่ 1/2558 แต่งตั้ง พล.อ.อภิรัชต์ เป็นประธานกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาลด้วย เมื่อวันที่ 1 พ.ค.58 หลังได้รับการแต่งตั้งเป็น ผบ.ทบ. ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการ คสช. อีก รวมถึงต้องเข้ารับตำแหน่งแทน พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท ในเก้าอี้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ หลังการรัฐประหาร ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิก สนช. เมื่อวันที่ 11 ต.ค.59 หลังจากนั้นจึงเข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิก คสช. ในฐานะผู้นำเหล่าทัพของกองทัพเรือ เมื่อวันที่ 27 ก.ย.61 นอกจากนี้ ยังต้องดำรงตำแหน่งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในฐานะ ผบ.ทร. แทน พล.ร.อ.นริส ประทุมสุวรรณ ที่พ้นจากตำแหน่งไป

พล.อ.อ.ชัยพฤกษ์ ดิษยะศริน หลังการรัฐประหาร ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิก สนช. เมื่อวันที่ 11 ต.ค.59 หลังจากนั้นจึงเข้ามาเป็นหนึ่งในสมาชิก คสช. ในฐานะผู้นำเหล่าทัพของกองทัพอากาศ เมื่อวันที่ 27 ก.ย.61 นอกจากนี้ ยังต้องดำรงตำแหน่งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในฐานะ ผบ.ทอ. แทน พล.อ.อ.จอม รุ่งสว่าง ที่พ้นจากตำแหน่งไป

พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ถือว่าเป็นคนที่รับตำแหน่งในยุคคสช. มากที่สุด เมื่อเทียบกับบรรดาผู้นำเหล่าคนอื่นๆ ได้แก่ ตำแหน่งสมาชิก สนช. เมื่อวันที่ 31 ก.ค.57 จากนั้น ดำรงตำแหน่ง สมาชิก คสช. เมื่อวันที่ 1 ต.ค.58

นอกจากนี้ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ยังเคยได้รับแต่งตั้งป็นคณะกรรมการชุดต่างๆ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีและคำสั่งหัวหน้าคสช. เช่น คณะกรรมการด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ, คณะกรรมการเพื่อเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

พล.อ.ณัฐ อินทรเจริญ หลังการรัฐประหาร ดำรงตำแหน่งเป็นสมาชิก สนช. ชุดที่สอง เมื่อวันที่ 25 ก.ย.57 และเป็นผู้อำนวยการศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) ที่ คสช. แต่งตั้ง หลังจากนั้นจึงเข้ามาเป็นสมาชิก คสช. ในฐานะปลัดกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 27 ก.ย.61 และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

พล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี หลังรัฐประหารและก่อนก้าวเข้าดำรงตำแหน่ง ผบ.สส. อย่างเป็นทางการ วันที่ 27 ก.ย.61 ก็ถูกแต่งตั้งเป็นสมาชิก คสช. และยังเป็นกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ แต่ไม่พบบทบาทการทำงานอื่นๆ ของเขาให้กับ คสช.

ทั้งนี้สำหรับตำแหน่ง สมาชิก คสช. ได้รับเงินเดือน+เงินเพิ่มเดือนละ 119,920 บาท ,ตำแหน่งสมาชิก สนช. ได้รับเงินเดือน+เงินเพิ่มเดือนละ 113,560 บาท และตำแหน่งผู้นำเหล่าทัพ ได้รับเงินเดือน+เงินเพิ่มเดือนละ 120,030 บาท นอกจากนี้ยังมีค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ อีกครั้งละ 6,000 บาท ทั้งนี้ยังไม่รวมเงินจากการที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็น สว.โดยอัตโนมัติอีกด้วย

 

สามารอ่านฉบับเต็มได้ที่นี่

 

ข้อมูกจาก Khaosod, ไอลอว์